updated: 15 เม.ย 2556 เวลา 13:06:21 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail
หลังจากเข้ามานั่งเป็นแม่ทัพหญิง บริษัท โอซีซี จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร"ธีรดา อำพันวงษ์" เจเนอเรชั่นที่ 3 แห่งตระกูลโชควัฒนา ลูกสาวของ "บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา" ก็มุ่งมั่นนำพาธุรกิจในเครือที่มีอยู่ 20 กว่าแบรนด์ ทั้งเสื้อผ้า ชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำ เครื่องสำอาง อาทิ กี ลาโรช, คัฟเวอร์มาร์ค, ซันเกรส, เคเอ็มเอ ฯลฯ ก้าวสู่การเติบโต รวมถึงเดินหน้าบุกตลาดอาเซียนเหมือนเช่นธุรกิจในเครือสหกรุ๊ป
แม้ที่ผ่านมายังไม่มีการเพิ่มแบรนด์เข้ามาในพอร์ต แต่ภายใต้การนำทัพของเธอก็ทำให้โอซีซีมีความเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการรีแบรนด์กี ลาโรช การแตกไฟติ้งแบรนด์ชุดชั้นใน G&G การขยายตลาดเคเอ็มเอสู่ตลาดอาเซียนรับเออีซี
"ปีนี้เราจะรีแบรนด์กี ลาโรช ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน เพราะอยู่ในตลาดเมืองไทยมากว่า 30 ปี แต่ในตลาดยุโรปอยู่มา 90 ปี เราต้องทำให้แบรนด์เฟรชขึ้น โดยในส่วนของการตลาดมีการทำอย่างต่อเนื่อง
ก็มีการเปลี่ยนทาร์เก็ตในการโฆษณา ทำให้ดูเป็นแมสมากขึ้น แต่สินค้ายังคงเป็นความลักเซอรี่เช่นเดิม ขณะที่กลุ่มเป้าหมายก็จะลดลงมาอยู่ที่กลุ่มอายุ 30 ปี จากเดิมอยู่ที่ 40 ปีขึ้นไป"
กี ลาโรชรีแบรนด์อย่างต่อเนื่องทุก ๆ 5 ปี 10 ปี โดยโลโก้จะมีการปรับเล็กน้อย แต่มีซิกเนเจอร์ให้ดูมีสีสันและทันสมัยมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเธอคิดว่าลักษณะของแบรนด์ต้องมีการปรับให้มีความสดใส
เพราะตอนนี้คู่แข่งค่อนข้างจะแรง แบรนด์ใหญ่ ๆ ในเมืองไทยโปรโมชั่นแรง ซึ่งแม้จะเป็นแบรนด์เล็กต้องปรับตัวให้สดใสอยู่ตลอด
นอกจากการรีแบรนด์เพื่อบุกในประเทศแล้ว โอซีซียังได้สิทธิ์ทำตลาดกี ลาโรช ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ พม่า กัมพูชา ซึ่งมีแผนนำชุดชั้นในเข้าไปทำตลาด เพราะชุดว่ายน้ำยังไม่ค่อยเป็นที่นิยม
"ถ้าประเทศไหนได้ไลเซนส์ไปแน่นอน แต่ก็ต้องศึกษาตลาดและความนิยม โดยที่ผ่านมามีการนำสินค้าเข้าไปทำตลาดบ้างแล้ว แต่เมื่อเปิดเออีซีก็ต้องเอาสินค้าที่ตรงกับความต้องการคนในประเทศนั้น ๆ เข้าไป ซึ่งที่ผ่านมาคนเริ่มรู้จักแบรนด์บ้าง แต่คงต้องทำตลาดจริงจังกับกลุ่มที่เป็นฐานกว้าง และต้องศึกษา
โลเกชั่นของร้านค้า ช่องทางขาย ราคาที่รับได้ และสรีระของคนท้องถิ่น" ทุกวันนี้การเข้าไปทำตลาดของกี ลาโรชในพม่าและกัมพูชา ยังมียอดขายน้อยคือ 3-4
ล้านบาท แต่หลังจากปี 2558 แม่ทัพหญิงคนนี้คาดว่าจะมีรายได้จากการส่งออกเพิ่มเป็น 10 ล้านบาท ขณะที่ตลาดในประเทศโตปีละประมาณ 10% หรือ 200 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเธอหวังว่าอีก 5 ปีตัวเลขการเติบโตของตลาดในประเทศโดยรวมของกี ลาโรชจะเพิ่มเป็นดับเบิล
ขณะเดียวกัน ก็ออกไฟติ้งแบรนด์ชุดชั้นใน "G&G" ลดวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ราคาถูกกว่ากี ลาโรช 30% ซึ่งมีไว้เพื่อบุกในพื้นที่ตะเข็บชายแดนและต่างจังหวัด รวมถึงตลาดอาเซียนด้วย "ปีนี้ตั้งเป้าไว้ที่ 1,800 ล้านบาท
ทุกแบรนด์ต้องโตโดยเฉพาะเคเอ็มเอที่เป็นแบรนด์ของเราเอง ก็ต้องพยายามพัฒนาให้ขึ้นมา เนื่องจากฐานยังเล็กอยู่จึงยังไม่มีรายการสินค้าใหม่ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในแบรนด์เก่า อย่างคัฟเวอร์มาร์คก็มีการขยายอย่างต่อเนื่อง และมีการทำซีเอสอาร์ ส่วนเคเอ็มเอวางขายในพม่าแล้ว สินค้าขายดีคือแป้ง และเมกอัพ"
แผนต่อไปเธอว่าจะไปผลิตในพม่า ตอนนี้โรงงานในเครือมีอยู่แล้ว เป็นการร่วมทุนกับบริษัทพม่าที่เป็นดิสทริบิวเตอร์ ตอนนี้ยังไม่ได้ผลิตของโอซีซี คิดว่าถึงเวลาที่เราน่าจะผลิตที่พม่าเพื่อลดต้นทุนได้แล้ว โดยเคเอ็มเอจะเป็นตัวแรก แต่คงต้องดูเรื่องของคุณภาพก่อน และเป็นแบรนด์ที่ไม่มีในเมืองไทย โดยจดทะเบียนไว้หลายชื่อ แต่ยังไม่ได้นำออกสู่ตลาด
โรดแมปของ "เคเอ็มเอ" ภายใต้การนำของ "ธีรดา" ยังไม่หมด เธอวางแผนสร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดเวียดนาม กัมพูชา ลาว โดยในกัมพูชาเข้าไปได้
สักพักหนึ่งแล้ว คนเริ่มรู้จักแบรนด์ มียอดขายประมาณ 4 ล้านบาท เวียดนามมีตัวแทนจำหน่ายอยู่แล้ว แต่ยังเล็กอยู่ ส่วนลาวยังไม่ได้ทำจริงจังแต่มีคนข้ามมาซื้อตามตะเข็บชายแดน
ถึงรายได้จาก 3 ประเทศในอาเซียนอย่างพม่า เวียดนาม กัมพูชา รวมกันจะไม่มาก แต่เธอเชื่อมั่นว่าในปีที่เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยอดขายจะพุ่งเป็น
ดับเบิล ซึ่งนั่นหมายถึงว่าต้องทำตลาดอย่างจริงจังควบคู่ไปด้วย ส่วนเป้าหมายโดยรวมของ "โอซีซี" ในปี 2558 ธีรดายิ้มแล้วบอกตัวเลข 2,000 ล้านบาทสำหรับ
ปีนี้ เธอกล่าวว่า ผ่านด่านไตรมาสแรกมาอย่างไม่ค่อยพอใจนัก แต่จุดหมายปลายทางน่าจะเกินเป้าที่ตั้งไว้ เพราะไตรมาส 2 ได้ทุ่มงบประมาณ 150 ล้านบาท เพื่อวางแผนการทำโฆษณา
โปรโมชั่นกับห้างสรรพสินค้าไว้แล้ว
เธอยอมรับว่า การทำตลาดตอนนี้ไม่ง่าย ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่มีเข้ามากระทบ ไม่ว่าจะเป็นค่าแรง 300 บาท ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น หรือกำลังซื้อที่เธอว่ามีอาการฝืดหลังจากนโยบายรถคันแรก "ธุรกิจจึงต้องมีตัวเบสิกที่รันนิ่ง ส่วนแฟชั่นให้ถือว่าเป็นโบนัส อย่างน้อยถ้าขายไม่ได้ก็ยังมีตัวเมนเทนยอดขาย ส่วนแฟชั่นมี 20% ถ้าขายดีคิดซะว่านั่นคือโบนัส เนื่องจากการทำแฟชั่นเสี่ยงมาก แต่ก็ยังคงทำต่อไปเพราะมันคือแบรนด์ของเรา"
โดยทุกการบุกตลาด ทุกการวางแผนสู้รบ การแข่งขัน สิ่งสำคัญที่เธอยึดถือไว้เสมอ คือ ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือ
ของบริษัท พร้อมกับคำสอนของ "เสี่ยบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา" ผู้พ่อที่มีนโยบายสั้น ๆ แต่ได้ความหมายนั่นคือ "ให้ทำงานหนักกันต่อไป"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น