โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business
การเคลื่อนไหวข้างต้น เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่บริษัทซอฟต์แวร์อินเดียจำนวนหนึ่ง พากันรุกเข้าซื้อกิจการ และทำข้อตกลงเอาท์ซอร์สจำนวนมากทั่วทั้งยุโรป ในช่วงปีที่ผ่านมา แม้จะต้องรับมือกับกฎหมายแรงงานที่เข้มงวด อุปสรรคด้านภาษา และต้นทุนดำเนินงานในระดับสูง
ข้อตกลงของทาทา ยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่ อินโฟซิส คู่แข่งที่มีขนาดใกล้เคียงกันที่สุด เพิ่งประกาศไปเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ทำข้อตกลงถือครองกิจการครั้งใหญ่สุดของบริษัท ด้วยการเข้าซื้อกิจการบริษัทที่ปรึกษาสวิตเซอร์แลนด์ "โลเดอสโตน โฮลดิ้ง" มูลค่าราว 350 ล้านดอลลาร์ หรือราว 10,500 ล้านบาท
จากนั้น ในเดือนธันวาคม ค็อกนิแซนต์ เทคโนโลยี โซลูชั่น คอร์ป ที่พนักงานมากกว่า 3 ใน 4 ของบริษัทอยู่ที่อินเดีย ก็เข้าลงทุนในเยอรมนีด้วยการซื้อกิจการบริษัท 6 แห่ง ในวงเงินลงทุนที่ไม่มีการเปิดเผยมูลค่าแต่อย่างใด ตามด้วยกรณีของจีโอเมทริค เมื่อเดือนมกราคมปีนี้ ที่เข้าซื้อ 3แคป เทคโนโลยีส์ บริษัทเยอรมนี ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์รถยนต์ ที่มีพนักงานอยู่ 110 คน โดยไม่เปิดเผยวงเงินการลงทุนเช่นเดียวกัน
การเข้าถือครองกิจการเหล่านี้ เกิดขึ้นแม้ยุโรปจะตกอยูภายใต้ปัญหาเศรษฐกิจอันหนักหน่วง ที่ทำให้การขยายตัวช้าลง อัตราว่างงานสูง และวิกฤติหนี้ที่เกิดขึ้นเป็นพักๆ แต่ปัญหาเหล่านี้ ก็ไม่ได้ทำให้บริษัทอินเดียละทิ้่งแผนการรุกเข้าตลาดยุโรปแต่อย่างใด
ความสนใจในตลาดยุโรปเกิดขึ้น หลังในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สหรัฐกลายมาเป็นตลาดที่อิ่มตัวสำหรับผู้ส่งออกซอฟต์แวร์อินเดีย โดยมีการทำข้อตกลงจำนวนจำกัด และต้องเจอกับการแข่งขันอย่างดุเดือด ทั้งการขาดแคลนวีซ่าสำหรับแรงงานที่มีทักษะในสหรัฐ ยิ่งทำให้บริษัทอินเดียกังวลมากขึ้นในการทำธุรกิจที่สหรัฐ เพราะอาจต้องมีต้นทุนเพิ่มมากขึ้นในการจ้างงานแรงงานอเมริกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น