ครัวไทยสู่ครัวโลกหากพูดเช่นนี้คงไม่ผิดนักสำหรับร้านอาหารไทยที่ไปไกลทั่วโลก อย่าง "Blue Elephant" ซึ่งโดยชื่อแล้วคนไทยอาจจะยังไม่คุ้นเคยนักแต่สำหรับฝรั่งหรือนักท่องเที่ยวเชื่อได้เลยว่าร้านอาหารแห่งนี้มีชื่อเสียงอย่างมาก วันนี้จึงเป็นโอกาสดีที่ Success Story ได้มีโอกาสได้พูดคุยกับ เชฟนูรอ โซ๊ะมณี-สเต็ปเป้ ต้นตำหรับอาหารไทยอันเลื่องชื่อที่สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก
จุดเริ่มต้น
ร้านบลูเอเลเฟ่นท์ เริ่มต้นเมื่อประมาณ 32 ปีที่แล้วที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยียม ด้วยความที่สามีประกอบกิจการค้าขายและมีลูกค้ามาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ จึงมีโอกาสโชว์ฝีไม้ลายมือในการทำอาหารไทยให้ลูกค้าและเพื่อนสามีไทยทานจนติดใจ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เปิดร้านอาหารเล็กๆ ซึ่งตอนแรกก็คิดว่าจะทำแค่สนุกๆ จึงเริ่มต้นที่ 40 โต๊ะซึ่งหลังจากเปิดครั้งแรกผ่านไปประมาณ 6 เดือน คนแน่ทำให้โต๊ะไม่พอนั่งจึงต้องขยายเพิ่มเป็น 120 โต๊ะก็ประสบความสำเร็จขายดีมากจึงตัดสินใจขยายสาขาที่ 2 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และหลังจากนั้นก็ขยายไปที่กรุงโคเปนเฮเก้น ประเทศเดนมาร์ก และกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
จุดเริ่มต้น
ร้านบลูเอเลเฟ่นท์ เริ่มต้นเมื่อประมาณ 32 ปีที่แล้วที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยียม ด้วยความที่สามีประกอบกิจการค้าขายและมีลูกค้ามาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ จึงมีโอกาสโชว์ฝีไม้ลายมือในการทำอาหารไทยให้ลูกค้าและเพื่อนสามีไทยทานจนติดใจ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เปิดร้านอาหารเล็กๆ ซึ่งตอนแรกก็คิดว่าจะทำแค่สนุกๆ จึงเริ่มต้นที่ 40 โต๊ะซึ่งหลังจากเปิดครั้งแรกผ่านไปประมาณ 6 เดือน คนแน่ทำให้โต๊ะไม่พอนั่งจึงต้องขยายเพิ่มเป็น 120 โต๊ะก็ประสบความสำเร็จขายดีมากจึงตัดสินใจขยายสาขาที่ 2 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และหลังจากนั้นก็ขยายไปที่กรุงโคเปนเฮเก้น ประเทศเดนมาร์ก และกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ที่มาของช้างสีน้ำเงิน
ที่มาของชื่อต้องยกเครดิตให้กับ คุณสามี คาร์ล สเต็ปเป้ เพราะความที่เป็นคนอาร์ตๆ และพี่เคยเล่าเรื่องช้างเผือกซึ่งเป็นช้างคู่บารมีของพระมหากษัตริย์และเป็นช้างนำโชคให้กับประเทศไทย แต่จะให้ชื่อร้านช้างเผือกแกก็ไม่โอเค เลยตกลงเอาสัญลักษณ์เป็นช้าง ส่วนสีน้ำเงินมาจากสีพื้นของธงชาติไทย
เคล็ดลับในการปั้นแบรนด์
ไม่มีอะไรมากเพียงแต่เราต้องทำด้วยใจจริงๆ และรักในการที่จะทำซึ่งโดยส่วนตัวเป็นคนชอบทำอาหารและชอบเอาใจคนอยู่แล้วจึงทำออกมาได้ดี แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็จะต้องรวมถึงการที่มีทีมเวิร์กที่ดีด้วยถึงจะทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จได้
ที่มาของชื่อต้องยกเครดิตให้กับ คุณสามี คาร์ล สเต็ปเป้ เพราะความที่เป็นคนอาร์ตๆ และพี่เคยเล่าเรื่องช้างเผือกซึ่งเป็นช้างคู่บารมีของพระมหากษัตริย์และเป็นช้างนำโชคให้กับประเทศไทย แต่จะให้ชื่อร้านช้างเผือกแกก็ไม่โอเค เลยตกลงเอาสัญลักษณ์เป็นช้าง ส่วนสีน้ำเงินมาจากสีพื้นของธงชาติไทย
เคล็ดลับในการปั้นแบรนด์
ไม่มีอะไรมากเพียงแต่เราต้องทำด้วยใจจริงๆ และรักในการที่จะทำซึ่งโดยส่วนตัวเป็นคนชอบทำอาหารและชอบเอาใจคนอยู่แล้วจึงทำออกมาได้ดี แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็จะต้องรวมถึงการที่มีทีมเวิร์กที่ดีด้วยถึงจะทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จได้
การดูแลการบริหารจัดการแต่ละสาขาทั่วโลก
เรื่องสูตรอาหารพี่จะเป็นคนดูแลเอง ส่วนพวกเครื่องแกเราจะมีโรงงานผลิตเครื่องแกงในประเทศไทยเพื่อส่งออกไปยังสาขาทั่วโลก จึงทำให้รสชาติอาหารไม่เพี้ยนจากกันมากนัก ซึ่งเชฟที่จะประจำแต่ละสาขาก็จะต้องมาเทรนด์งานกับพี่ก่อน ส่วนเรื่องการตลาดหรือแฟรนไซน์ก็จะมีสามีช่วยดูแล ซึ่งเราจะติดต่อสื่อสารกับผู้จัดการแต่ละสาขาหรือเชฟแต่ละสาขาผ่านอีเมล์ ประชุม ซึ่งพี่ก็ต้องเดินทางไปดูแลอยู่ตลอด
ปัญหาและอุปสรรค์ในการทำร้านอาหาร
การดูแลเชฟการคอนโทรเชฟ คุณภาพอาหาร การให้บริการ ซึ่งในเรื่องเชฟเราต้องคอยดูแลเหมือนลูกอ่อนเลยเพราะเวลาออกเมนูอะไรใหม่ๆ บางครั้งเขาก็จะไม่โอเคจนเราต้องลงมือทำเองให้เขาดูก่อนเพราะถ้าเราทำไม่เป็นแล้วเราจะบอกเขาได้อย่างไรว่าควรทำอย่างไรบ้าง ซึ่งการแก้ปัญหาเรื่องเชฟ เราจะต้องเทรนด์นิ่งและมีการประชุมกันทุกเดือน ซึ่งเชฟของทางร้านจะถูกดึงตัวไปที่อื่นเยอะเหมือนกันเราก็ต้องพยายามเทรนด์คนใหม่ๆ เข้ามา ถ้าถามว่าเหนื่อยมั้ยกับการเทรนด์คนใหม่พี่ตอบได้เลยว่าเหนื่อยแต่พี่จะคิดว่ามันเป็นวัฏจักรของชีวิตอย่าไปเครียด เพราะไม่มีเชฟคนนี้ร้านอาหารเราก็จะต้องยังอยู่ต่อไปเราก็ต้องทดแทนด้วยการเทรนด์คนใหม่ขึ้นมาแทน
เรื่องสูตรอาหารพี่จะเป็นคนดูแลเอง ส่วนพวกเครื่องแกเราจะมีโรงงานผลิตเครื่องแกงในประเทศไทยเพื่อส่งออกไปยังสาขาทั่วโลก จึงทำให้รสชาติอาหารไม่เพี้ยนจากกันมากนัก ซึ่งเชฟที่จะประจำแต่ละสาขาก็จะต้องมาเทรนด์งานกับพี่ก่อน ส่วนเรื่องการตลาดหรือแฟรนไซน์ก็จะมีสามีช่วยดูแล ซึ่งเราจะติดต่อสื่อสารกับผู้จัดการแต่ละสาขาหรือเชฟแต่ละสาขาผ่านอีเมล์ ประชุม ซึ่งพี่ก็ต้องเดินทางไปดูแลอยู่ตลอด
ปัญหาและอุปสรรค์ในการทำร้านอาหาร
การดูแลเชฟการคอนโทรเชฟ คุณภาพอาหาร การให้บริการ ซึ่งในเรื่องเชฟเราต้องคอยดูแลเหมือนลูกอ่อนเลยเพราะเวลาออกเมนูอะไรใหม่ๆ บางครั้งเขาก็จะไม่โอเคจนเราต้องลงมือทำเองให้เขาดูก่อนเพราะถ้าเราทำไม่เป็นแล้วเราจะบอกเขาได้อย่างไรว่าควรทำอย่างไรบ้าง ซึ่งการแก้ปัญหาเรื่องเชฟ เราจะต้องเทรนด์นิ่งและมีการประชุมกันทุกเดือน ซึ่งเชฟของทางร้านจะถูกดึงตัวไปที่อื่นเยอะเหมือนกันเราก็ต้องพยายามเทรนด์คนใหม่ๆ เข้ามา ถ้าถามว่าเหนื่อยมั้ยกับการเทรนด์คนใหม่พี่ตอบได้เลยว่าเหนื่อยแต่พี่จะคิดว่ามันเป็นวัฏจักรของชีวิตอย่าไปเครียด เพราะไม่มีเชฟคนนี้ร้านอาหารเราก็จะต้องยังอยู่ต่อไปเราก็ต้องทดแทนด้วยการเทรนด์คนใหม่ขึ้นมาแทน
การบริหารคนสไตล์บลูอีเลฟเฟ่นท์
การดูแลคนจะต้องมีทั้งพระเดชและพระคุณ บลูอีเลฟเฟ่นท์จะเราจะเลี้ยงลูกน้องเหมือนเป็นญาติไม่ใช่เลี้ยงเหมือนคุณนายกับลูกน้อง เวลากินข้าวก็กินด้วยกันประชุมก็ประชุมด้วยกันเวลามีอะไรก็ปรึกษากันเพราะคนไทยไม่ชอบให้ใครมากดขี่ ดังนั้น เราจึงต้องใช้การสอนโดยการแนะนำเราต้องให้เกียรติเขาเหมือนทีมเวิร์กไม่ใช่เราจะสั่งอย่างเดียว
เมื่อถึงวันที่ร้านอาหารแตกไลน์ธุรกิจ
จุดเริ่มต้นของการขยายธุรกิจจริงๆ ก็เป็นการสร้างเพื่อสนับสนุนงานร้านอาหารที่เป็นธุรกิจหลัก ซึ่งธุรกิจที่บลูอีเลฟเฟ่นท์แตกไลน์มีทั้ง โรงงานผลิตเครื่องแกงเพื่อส่งออกไปยังสาขาต่างๆ ของบลูอีเลฟเฟ่นท์ทั่วโลก และมีการเปิดโรงเรียนสอนทำอาหารซึ่งในช่วงแรกเป็นการฝึกเชฟเพื่อไปประจำสาขาในต่างประเทศ แต่หลังจากนั้นก็มีคนภายนอกสนใจติดต่อขอมาเรียนบ้างจึงเริ่มเปิดหลักสูตรสอนทำอาหาร ซึ่งคงยังไม่ถึงกับเรียกว่าโรงเรียนเลยทีเดียวเพราะไม่ได้ใหญ่ขนาดนั้น แต่ในอนาคตก็อยากจะขยายให้ใหญ่เหมือนกัน
การดูแลคนจะต้องมีทั้งพระเดชและพระคุณ บลูอีเลฟเฟ่นท์จะเราจะเลี้ยงลูกน้องเหมือนเป็นญาติไม่ใช่เลี้ยงเหมือนคุณนายกับลูกน้อง เวลากินข้าวก็กินด้วยกันประชุมก็ประชุมด้วยกันเวลามีอะไรก็ปรึกษากันเพราะคนไทยไม่ชอบให้ใครมากดขี่ ดังนั้น เราจึงต้องใช้การสอนโดยการแนะนำเราต้องให้เกียรติเขาเหมือนทีมเวิร์กไม่ใช่เราจะสั่งอย่างเดียว
เมื่อถึงวันที่ร้านอาหารแตกไลน์ธุรกิจ
จุดเริ่มต้นของการขยายธุรกิจจริงๆ ก็เป็นการสร้างเพื่อสนับสนุนงานร้านอาหารที่เป็นธุรกิจหลัก ซึ่งธุรกิจที่บลูอีเลฟเฟ่นท์แตกไลน์มีทั้ง โรงงานผลิตเครื่องแกงเพื่อส่งออกไปยังสาขาต่างๆ ของบลูอีเลฟเฟ่นท์ทั่วโลก และมีการเปิดโรงเรียนสอนทำอาหารซึ่งในช่วงแรกเป็นการฝึกเชฟเพื่อไปประจำสาขาในต่างประเทศ แต่หลังจากนั้นก็มีคนภายนอกสนใจติดต่อขอมาเรียนบ้างจึงเริ่มเปิดหลักสูตรสอนทำอาหาร ซึ่งคงยังไม่ถึงกับเรียกว่าโรงเรียนเลยทีเดียวเพราะไม่ได้ใหญ่ขนาดนั้น แต่ในอนาคตก็อยากจะขยายให้ใหญ่เหมือนกัน
สาขาที่ 12 ของร้านช้างสีน้ำเงิน
ถ้าถามขณะนี้คิดว่าจะทำสิ่ง ที่มีอยู่ให้ดีก่อน แต่ถ้าถามว่าประเทศที่มองไว้และหากมีโอกาสจะไปคือประเทศไหนบอกได้เลยว่าอยาก ไปเมืองจีน เพราะลูกค้าที่เมืองจีนมาเรียนทำอาหารกับทางร้านค่อนข้างเยอะ จึงคิดว่าเมืองจีนก็น่าจะเป็นโอกาสโตอีกสาขาของบลูอีเลฟเฟ่นท์
ฝากถึงผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์
อยากให้คนไทยมาชิมอาหารที่บลูอีเลฟเฟ่นท์กันเยอะๆ เพราะเมนูร้านช้างไม่ได้แพงอย่างที่คิด และร้านช้างไม่ใช่ร้านที่หยิ่ง คุณมากินอาหารแค่จานเดียวเราก็ยินดีต้อนรับ ยิ่งคนไทยมาเยอะๆ พี่ยิ่งดีใจ
ถ้าถามขณะนี้คิดว่าจะทำสิ่ง ที่มีอยู่ให้ดีก่อน แต่ถ้าถามว่าประเทศที่มองไว้และหากมีโอกาสจะไปคือประเทศไหนบอกได้เลยว่าอยาก ไปเมืองจีน เพราะลูกค้าที่เมืองจีนมาเรียนทำอาหารกับทางร้านค่อนข้างเยอะ จึงคิดว่าเมืองจีนก็น่าจะเป็นโอกาสโตอีกสาขาของบลูอีเลฟเฟ่นท์
ฝากถึงผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์
อยากให้คนไทยมาชิมอาหารที่บลูอีเลฟเฟ่นท์กันเยอะๆ เพราะเมนูร้านช้างไม่ได้แพงอย่างที่คิด และร้านช้างไม่ใช่ร้านที่หยิ่ง คุณมากินอาหารแค่จานเดียวเราก็ยินดีต้อนรับ ยิ่งคนไทยมาเยอะๆ พี่ยิ่งดีใจ
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
31 มกราคม 2556, 08:00 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น