โชว์ห้าปีลงทุน 2.38 หมื่นล้านบ.
หากกล่าวถึงแผนการดำเนินงาน 5 ปี ของน้ำประปาไทยนั้น บริษัทเตรียมขยายธุรกิจเพิ่มมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ โดยวางงบประมาณในการลงทุนระยะ 5 ปี (56-60) ไว้ที่ 23,800 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการลงทุนเพื่อธุรกิจผลิตน้ำประปา 40% ธุรกิจพลังงาน 30% และธุรกิจสิ่งแวดล้อม 30% ซึ่งจะทำให้ในปี 56 บริษัทมีรายได้สูงถึง 10,000 ล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 15%
สำหรับในปี 56 นี้บริษัทคาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าทั้งปีจะมีรายได้จากการดำเนินธุรกิจทั้งหมดรวม 6,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีรายได้รวม 5,000 ล้านบาท โดยจะเน้นทุกกลุ่มทั้งธุรกิจน้ำที่มีสัดส่วนการดำเนินการและถือเป็นรายได้หลักที่มีสัดส่วนถึง 93% ขณะที่ธุรกิจอื่น ๆ อีก 7% ประกอบด้วยพลังงานทางเลือกที่บริษัทสนใจเข้ามาทำธุรกิจพลังงานลม ในการผลิตไฟฟ้า 180 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลทั้งหมด ส่วนการเดินหน้าในธุรกิจพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ภายในกลางปีนี้หากยังไม่มีข้อสรุป บริษัทจะต้องรอใบอนุญาตใหม่ รวมถึงมีแผนทำธุรกิจพลังงานจากขยะอีก 1 โครงการด้วย
เตรียมรุกเพื่อนบ้านรับเออีซี
นอกจากบริษัทถือหุ้นในบริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด 30% ของหุ้นทั้งหมด ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานเขื่อนน้ำงึม 2 จากประเทศลาวเป็นเวลา 27 ปี บริษัทเตรียมขยายธุรกิจเพื่อนบ้านมากขึ้นทั้งเวียดนาม ลาว รวมไปถึงพม่าที่คาดว่าจะเป็นการร่วมทุนหรือการเข้าซื้อกิจการน้ำประปาเพื่อนำมาดำเนินธุรกิจต่อ และขยายกำลังการผลิต เพราะเชื่อว่าจะช่วยสร้างรายได้เร็วกว่าการลงทุนใหม่ทั้งหมด แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการอนุญาตของรัฐบาลพม่า เพราะจากการศึกษาพบว่า พม่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการพัฒนาสูง และความต้องการใช้น้ำประปาก็ยังอยู่ในระดับที่สูงมาก
ล่าสุด…บริษัทได้เจรจากับหน่วยงานราชการระดับเมืองของพม่าไว้เรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทมุ่งเน้นสำหรับการลงทุนในธุรกิจน้ำ พลังงานสะอาด และธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม เช่นธุรกิจบำบัดน้ำเสีย อย่างไรก็ดี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลและศึกษาความเป็นไปได้ในหลาย ๆ โครงการทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน
“พม่าในปัจจุบันมีการดำเนินการเกือบทั้งหมดที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ ดังนั้นการซื้อกิจการ จึงทำได้ค่อนข้างยาก แต่บริษัทได้มองประเทศในกลุ่มซีแอลเอ็มวีที่มีกิจการที่ดำเนินการโดยเอกชนแล้ว และมีความสนใจที่จะขายกิจการ”
คาดลงทุนพม่า 3,000 ล้านบาท
“สมเกียรติ ปัทมมงคลชัย” ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัทน้ำประปาไทย บอกว่า หากการลงทุนน้ำประปาในพม่าได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลพม่าเรียบร้อยแล้ว บริษัทจะเข้าไปลงทุนเร็วที่สุดไม่เกินปี 57 โดยปริมาณน้ำที่ส่งเข้าระบบไม่เกิน 100,000 คิวต่อวัน งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท การเสนอแผนลงทุนดังกล่าวมีทั้งบริษัทคนไทยและต่างชาติเป็นคู่แข่ง แต่บริษัทมั่นใจในศักยภาพเพราะมีความชำนาญ
ซีเคพาวเวอร์เข้าตลาดหุ้น
“สมโพธิ” ระบุว่า ส่วนการที่ บมจ.ช.การช่าง ผู้ถือหุ้นใหญ่ ขายหุ้นของบริษัท 11% ให้กับบริษัทในเครือ บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ (บีอีซีแอล) ยืนยันว่าไม่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทแต่อย่างใด ส่วนการลงทุนในบริษัทย่อยของ ช.การช่าง อย่าง ซีเค พาวเวอร์ ที่ปัจจุบันบริษัทถือหุ้นอยู่ทั้งสิ้น 30% นั้น มีแผนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะส่งให้บริษัทสามารถรับรู้กำไรพิเศษจากการขายหุ้นของซีเค พาวเวอร์ด้วย
“เราเข้าลงทุนในซีเค พาวเวอร์ ตั้งแต่ปีที่แล้ว มีรายได้จากการดำเนินงานที่เรารับรู้ประมาณ 150 ล้านบาท แต่ธุรกิจสาธารณูปโภคมีการลงทุนที่สูง ดังนั้นในช่วงแรกจะมีค่าใช้จ่าย และต้นทุนเยอะ แต่ต่อไปมันจะดีขึ้น สร้างรายได้ให้เราได้ในระดับที่น่าพอใจ ปีนี้เรายังมีราย ได้จากธุรกิจหลักคือน้ำประปาประมาณ 93% อีก 7% ยังมาจากธุรกิจอื่น ๆ”
หลังจากนี้ไปคงต้องมาจับตามองว่าการปักธงรบ 5 ปีของน้ำประปาไทยหลังจากนี้ไปจะเป็นไปอย่างไร การออกปากรุกในทุกด้านพร้อม ๆ กัน ทั้งด้านการผลิตน้ำประปา พลังงานทางเลือก พลังงานสะอาด เดินหน้าหาพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงขยายกิจการไปเพื่อนบ้าน จะสำเร็จมากน้อยเพียงใด คือ... ความท้าทายของน้ำประปาไทย.
ภัทราภรณ์ พลายเถื่อน
คาดลงทุนพม่า 3,000 ล้านบาท
“สมเกียรติ ปัทมมงคลชัย” ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัทน้ำประปาไทย บอกว่า หากการลงทุนน้ำประปาในพม่าได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลพม่าเรียบร้อยแล้ว บริษัทจะเข้าไปลงทุนเร็วที่สุดไม่เกินปี 57 โดยปริมาณน้ำที่ส่งเข้าระบบไม่เกิน 100,000 คิวต่อวัน งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท การเสนอแผนลงทุนดังกล่าวมีทั้งบริษัทคนไทยและต่างชาติเป็นคู่แข่ง แต่บริษัทมั่นใจในศักยภาพเพราะมีความชำนาญ
ซีเคพาวเวอร์เข้าตลาดหุ้น
“สมโพธิ” ระบุว่า ส่วนการที่ บมจ.ช.การช่าง ผู้ถือหุ้นใหญ่ ขายหุ้นของบริษัท 11% ให้กับบริษัทในเครือ บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ (บีอีซีแอล) ยืนยันว่าไม่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทแต่อย่างใด ส่วนการลงทุนในบริษัทย่อยของ ช.การช่าง อย่าง ซีเค พาวเวอร์ ที่ปัจจุบันบริษัทถือหุ้นอยู่ทั้งสิ้น 30% นั้น มีแผนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะส่งให้บริษัทสามารถรับรู้กำไรพิเศษจากการขายหุ้นของซีเค พาวเวอร์ด้วย
“เราเข้าลงทุนในซีเค พาวเวอร์ ตั้งแต่ปีที่แล้ว มีรายได้จากการดำเนินงานที่เรารับรู้ประมาณ 150 ล้านบาท แต่ธุรกิจสาธารณูปโภคมีการลงทุนที่สูง ดังนั้นในช่วงแรกจะมีค่าใช้จ่าย และต้นทุนเยอะ แต่ต่อไปมันจะดีขึ้น สร้างรายได้ให้เราได้ในระดับที่น่าพอใจ ปีนี้เรายังมีราย ได้จากธุรกิจหลักคือน้ำประปาประมาณ 93% อีก 7% ยังมาจากธุรกิจอื่น ๆ”
หลังจากนี้ไปคงต้องมาจับตามองว่าการปักธงรบ 5 ปีของน้ำประปาไทยหลังจากนี้ไปจะเป็นไปอย่างไร การออกปากรุกในทุกด้านพร้อม ๆ กัน ทั้งด้านการผลิตน้ำประปา พลังงานทางเลือก พลังงานสะอาด เดินหน้าหาพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงขยายกิจการไปเพื่อนบ้าน จะสำเร็จมากน้อยเพียงใด คือ... ความท้าทายของน้ำประปาไทย.
ภัทราภรณ์ พลายเถื่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น