วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Visa อันดับหนึ่งบัตรชำระเงิน

วันที่ ข้อมู 11 สิงหาคม 2547

 

ที่มา http://www.positioningmag.com/branddetails.aspx?id=20169

       http://www.arip.co.th/businessnews.php?id=408491 

       http://www.marketeer.co.th/inside_detail.php?inside_id=4261 

Visa 

 Profile - Visa International แบรนด์ชำระเงินอันดับหนึ่งของไทยและของโลกเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1958 ในชื่อว่า National Bank Americard ออกโดย ธนาคาร Bank of America แต่ต่อมาในปี 1976 ได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น Visa ปัจจุบัน Visa เป็นยี่ห้อชำระเงินชั้นนำของโลกโดยมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งหมดประมาณ 2.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี และเป็นที่ยอมรับในประเทศต่างๆมากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก Visa ประเทศไทยออกครั้งแรกโดยธนาคารกสิกรไทยเมื่อปี 1979 และได้ตั้งสำนักงานขึ้นในปี 1994 ขณะนี้ Visa มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 80% ในตลาดบัตรเครดิตของประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนบัตรเครดิตที่ออกใช้กว่า 4 ล้านใบ มีร้านค้าที่รับบัตรอยู่ทั่วประเทศประมาณ 140,000 แห่ง Products - Credit Card

กลยุทธ์

@ เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนบัตรที่เพิ่มขึ้น ทางวีซ่าจึงต้องทำตลาดในส่วนของร้านค้าที่รับบัตรเพิ่มขึ้นด้วย โดยภายใน 2 ปีนี้ วีซ่าตั้งเป้าไว้ว่าจะเพิ่มปริมาณร้านค้าที่รับบัตรเพิ่มขึ้นอีก 40% ซึ่งในจำนวนนี้รวมร้านค้าที่จะขยายในต่างจังหวัดด้วย ปัจจุบันวีซ่ามีร้านค้าที่รับบัตรวีซ่าจำนวนกว่า 120,000 แห่งในประเทศไทย ก็มีเป้าหมายที่จะขยายเพิ่ม เป็น 170,000 ร้านค้าภายในสองปีข้างหน้า

@โดย เน้นขยายฐานร้านค้าในตลาดที่มีศักยภาพการใช้จ่ายสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในหมวดการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น สถานีบริการน้ำมัน ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด รวมถึงธุรกิจประกันภัย และการชำระเงินให้หน่วยงานราชการ ซึ่งเป็นการเพิ่มความสะดวกในการชำระเงินในชีวิตประจำวัน

@ ส่วน เป้าหมายในด้านอื่น ๆ ก็ยังมีการขยายบัตรวีซ่า อิเล็กตรอนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการใช้จ่ายผ่านบัตรของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในประเทศไทย และวางพื้นฐานจุดรับบัตรเพื่อรองรับการออกบัตรติดชิป

@ นอก จากนั้นแล้ว วีซ่ายังทำตลาดบัตรเดบิตให้มีอัตราการเติบโตควบคู่กันไปด้วยในตลาดไทยและอิน โดจีน จนปัจจุบันนี้มีจำนวนผู้ถือบัตรรวมแล้ว 3 ล้านใบ ซึ่งวีซ่าเชื่อว่าบัตรเดบิตจะเป็นผลิตภัณฑ์ในการชำระเงินอีกประเภทที่เพิ่มบริการทางธนาคารและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

รวมแล้ววีซ่ามีบัตรออกหมุนเวียนในตลาดไทยและอินโดจีนกว่า 5 ล้านใบ โดยในจำนวนนี้เป็นบัตรเดบิต วีซ่า อิเล็กตรอน 3 ล้านใบ ที่เหลือ 2 ล้านใบเป็นบัตรเครดิต ซึ่งเราคาดว่าจะเพิ่มจำนวนบัตรขึ้นเป็น 10 ล้านใบนายสมบูรณ์ ครบธีรวงศ์ ผู้จัดการวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำประเทศไทยและอินโดจีน กล่าว

....................

อาณาจักรวีซ่า


@ บัตรวีซ่ามียอดใช้จ่ายกว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และมีร้านค้ารับบัตรกว่า 24 ล้านแห่งทั่วโลก และเครื่องเอทีเอ็มที่รับบัตรวีซ่ากว่า 750,000 เรื่อง วีซ่าเป็นหนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ โดยกว่า 50%ของการทำธุรกิจออนไลน์เป็นของวีซ่า สำหรับในเขตภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก วีซ่าครองส่วนแบ่งการตลาดกว่า 56% หรือมากกว่าบัตรอื่นๆ ทุกยี่ห้อรวมกันในปี 2544 ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ 480 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเติบโตขึ้นจากปีที่แล้วกว่า 56%

@ ในปัจจุบัน วีซ่าครองส่วนแบ่งการตลาดกว่า 56% หรือมากกว่าบัตรอื่นๆ ทุกยี่ห้อรวมกัน ในปี 2544 และมียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกอยู่ที่ 480 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเติบโตขึ้นจากปีที่แล้วกว่า 56%

@ ขณะ ที่ความนิยมในแบรนด์วีซ่า เมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นในประเทศไทยแล้ว วีซ่า เป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยมีผู้นิยมใช้บัตรในไทยสูงถึง 73%  และมีสัดส่วนการใช้จ่ายผ่านบัตรในไทย 59.0% ซึ่งเป็นส่วนแบ่งที่มากกว่าแบรนด์อื่น ๆ เช่นกัน

......................................................................................

คู่แข่ง

อเมริกัน เอ็กซ์เพรส

บัตร อเมริกัน เอ็กซ์เพรส แม้จะเป็นบัตรเครดิตที่ยังให้บริการไม่เต็มรูปแบบ คือเมื่อใช้ต้องชำระเต็มวงเงินที่ใช้ในแต่ละรอบบัญชี แต่ด้วยความสะดวกที่ง่ายและรวดเร็วในการออกบัตร ทำให้จำวนผู้ถือบัตรอเมริกัน เอ็กซ์เพรส ในไทยเติบโตขึ้นไม่น้อย

นอก จากบัตรเครดิตส่วนบุคคล อเมริกัน เอ็กซ์เพรส ยังทำตลาดในกลุ่มสมาชิกบัตรเครดิตธุรกิจ ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นองค์การขยาดกลางและ เล็ก ซึ่งกลายเป็นตลาดเชิงรุกที่ได้ผลของอเมริกันเอ็กเพรสในปีที่ผ่านมา และยังคงดำเนินการต่อเนื่องมาถึงทุกวันนี้ ควบคู่กับการขยายบัตรในส่วนลูกค้าบุคคลทั่วไป

มาสเตอร์ การ์ด

ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป็นตลาดที่มาสเตอร์การ์ดมีอัตราการเติบโตสูงสุดเช่นเดียวกับวีซ่า และยังมีศักยภาพการขยายตัวได้อีกมาสำหรับมาสเตอร์การ์ด ซึ่งทางมาสเตอร์การ์ดเชื่อว่า ภายใน 5 ปีนับจากนี้ จะมียอดการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักทุกปี

โดยในปี 2544 ที่ผ่านมา การใช้จ่ายผ่านบัตรมาสเตอร์การ์ดทุกประเภทคิดเป็นเงินในรูปดอลลาร์สหรัฐขยายตัวเพิ่มขึ้น 19% ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยมีการขยายตัวในญี่ปุ่นและเกาหลี 40% ส่วนเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 30% ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ 21% และในจีนประเทศเดียวเติบโตถึง 18% เช่นเดียวกันกับจำนวนบัตรที่ออกทั้งภูมิภาคเพิ่มขึ้น 23%

 และก็เป็นที่เชื่อว่าตัวเลขการเติบโตของมาสเตอร์การ์ดทั้งในประเทศไทยและในเอเชีย-แปซิฟิก ในปี 2545 นี้ จะมีอัตราการเติบโตไม่แพ้ปีที่ผ่านมา เพราะผลจากการเป็นสปอนเซอร์หลักของฟีฟ่าในการแข่งขัน World Cup 2002 ซึ่งมาสเตอร์การ์ดได้จัดแคมเปญในการออกบัตรเครดิตรุ่นใหม่ ๆ มาอย่างต่อเนื่อง และทำในทุกประเทศ

…………………………………….

Illustrated by number

บัตรเครดิตที่ผู้ใช้ในไทยนิยมใช้

Visa                                        73%

American Express              22%

MasterCard                           3%

Others                                    2%

ที่มา : Visa

ส่วนแบ่งในตลาดเอเชียแปซิฟิก

Visa                                        59.0%

MasterCard                           21.9%

American Express              6.3%

JCB                                        10.1%

Diners Club                          2.7%

ที่มา :Visa

ปริมาณการใช้จ่ายส่วนบุคคล (ล้านล้านเหรียญสหรัฐ)

U.S.A                      US$6.9

European Union  US$5.0

Asia Pacific           US$4.8

Canada                 US$1.3

CEMEA                  US$1.1

Latin America and Caribbean         US$0.4
 ปัจจัยที่ทำให้ วีซ่า ประสบความสำเร็จ คืออะไร
สิ่งที่ทำให้ วีซ่าได้รับการยอมรับ ครอบครองส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลก 60% เพราะเรามีเครือข่ายร้านครอบคลุมทั่วโลก มากกว่า 20 ร้านค้า ทำงานร่วมกับสถาบันการเงินที่มีชือเสียงทั่วโลก ตู้เอทีเอ็มเกือบทุกตู้ทั่วโลกมีแบรนด์ วีซ่า ทำให้คนทั่วโลกมีความเชื่อมั่นในแบรนด์วีซ่า เดินทางไปที่ไหนก็สามารถใช้บัตรวีซ่าได้ มีความสะดวกและปลอดภัย


ส่วนในประเทศไทย สิ่งที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ มาจากการสื่อสารที่ดีกับสถาบันการเงิน ในส่วนของกฎระเบียบต่างๆ วีซ่า มีกฎระเบียบอะไรออกมาเราก็มาถ่ายทอดไปยังสถาบันการเงินอย่างถูกต้องทำให้ สถาบันการเงินกับวีซ่า มีความเข้าใจในงานที่ทำร่วมกันไม่มีปัญหาในการประสานงาน ขณะเดียวกันวีซ่าได้ส่งเสริมสนับสนุนสถาบันการเงิน ในการขยายฐานลูกค้า เป็นจุดที่ทำให้เราได้รับการยอมรับที่ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น