กระแส “คลั่งไคล้” ของแถมในญี่ปุ่น /สุวรรณดี ไชยวรุตม์
เป็นเรื่องปกติของสินค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กที่กลยุทธ์ในการตลาดมัก
จะหนีไม่พ้น
การแถมของเล่นเข้าล่อใจให้ซื้อสินค้าโดยเฉพาะสินค้าประเภทของขบของเคี้ยว
ทั้งหลาย ยิ่งของเล่นที่แถมมีลักษณะที่เป็นคอลเลคชั่นล่อใจให้สะสมแล้วละก็
เรียกกันว่าคนซื้อต้องเก็บกันให้ครบไม่งั้นไม่มันส์ ไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่าหากของแถมถูกใจกลุ่มเป้าหมายแบบโป๊ะเชะแล้วละก็ยอดขายจะมาแบบถล่มทลายจนโรงงานแทบพัง
และ
ไม่ว่ายุคสมัยจะผันเปลี่ยนเวียนไปเมื่อไรก็ตามของแถมก็ยังมีเสน่ห์อยู่อย่าง
ไม่เสื่อมคลายไม่เว้นแม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นเองในยุค
เศรษฐกิจตกต่ำในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
แต่ที่แตกต่างอย่างน่าแปลกใจก็คือยอดนักซื้อที่ส่งผลให้ยอดขายสินค้าที่มี
ของเล่นเป็นของแถมพุ่งกระฉูดแบบยั้งไม่อยู่มิใช่เด็ก ๆ
แต่กลับกลายเป็นผู้ใหญ่และส่วนใหญ่เป็นชายหนุ่มในวัย 20 ปีขึ้นไป ที่ซื้อกันแบบยกหีบไม่บันยะบันยังกันเลย
กระแสบ้าของแถมในประเทศญี่ปุ่นในช่วงที่ผ่านมาที่เป็นข่าวเกรียวกราวคงไม่มีใครแพ้Choco Egg ของ Furuta Seika Kaisha บริษัทขนมเล็ก ๆ ที่มีพนักงานเพียง 37 คนที่เริ่มออกวางขายตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2542 มีราคาขายที่ 150 เยน โดยแถมหุ่นสัตว์ตัวเล็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกนก แมลง ปลา สัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งมีกว่า 100 แบบ ที่บรรจุในชอคโกแลตรูปไข่โดยที่คนซื้อจะไม่รู้ว่าของแถมข้างในจะเป็นสัตว์รูปอะไร
ภาพ:http://www.plasticfetish.net
ทีเด็ดของผู้ผลิตก็คือจะมีสัตว์ประเภทเมืองลับแลในตำนานที่ต้องหากันแบบขาขวิดกระเป๋าฉีก บางคนยอมรับว่าซื้อถึง 500 ตัวแล้ว เจ้าตัวดังกล่าวเป็นที่ต้องการของบรรดานักสะสมอย่างมากถึงขนาดมีการซื้อขายกันทางอินเตอร์เน็ตถึงตัวละ 6,000 เยนทีเดียว หุ่นตัวเล็ก ๆ นี้ฮิตติดลมบนอย่างยั้งไม่อยู่เมื่อมีถึง 3 สำนักพิมพ์ด้วยกันที่พิมพ์แคตตาลอคออกมาให้ไล่ล่าเก็บสะสม ช่วยกระพือกระแสให้ร้อนแรงขึ้นไปอีก
สาเหตุ
ของความฮิตดังกล่าวน่าจะมาจากการที่เจ้าตัวสัตว์ที่ว่านั้นมีความสวยงามถึง
แม้จะเป็นของแถมมูลค่าไม่มากมายแต่มีค่าน่าสะสม
ความคิดดั้งเดิมของผู้ผลิตคือมีเป้าหมายมุ่งไปยังกลุ่มเด็กโดยมุ่งหวังเพื่อ
การศึกษาจึงผลิตมาให้เหมือนจริงที่สุด แต่ไหงผู้ใหญ่ดันแย่งเด็กซื้อเสียนี่
แต่ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว ใครจะซื้อก็ช่างมียอดขายก็พอ
สำหรับกลยุทธ์ของผู้ผลิตก็คือหลอกล่อให้คนซื้อคอยตามติดไม่เบื่อ จึงต้องผลิตสัตว์รูปแบบใหม่ ๆ ออกมาให้ต่อเนื่อง มี theme เป็นเรื่องราวเช่น ชุดสัตว์ป่าในประเทศญี่ปุ่น โดยที่มีการออกชุดใหม่ ชุดละ 24-48 ตัวทุก ๆ 2-3 เดือน โดยที่เมื่อชุดใหม่ออกมาผู้ผลิตก็จะเลิกผลิตชุดเดิม ๆ ทันที
นี่
ก็เป็นวิธีการกระตุ้นให้เกิดการไล่ล่าของแถมอย่างเร็วที่สุดเพราะกลัวของหมด
กัน เนื่องจากยอดขายระเบิดเถิดเทิงจนผู้ผลิตผลิตไม่ทัน
ส่งผลให้ผู้ผลิตขนมรายอื่น ๆ ตาร้อนผ่าวไปตาม ๆ กัน
หลายบริษัทต่างพากันหันเหกลยุทธ์พากันไปทำของแถมเจาะใจผู้ใหญ่หัวใจเด็กไป
ตาม ๆ กันและต่างพากันแฮปปี้ไปกับกระแสการตอบรับที่น่าพอใจกันทั่วหน้า
ยกตัวอย่างเช่น Meiji Seika Kaisha ที่แถมตุ๊กตาหมี Teddy Bear ตัวย่อม ๆ สูงราว 8 เซนติเมตร ในกล่องชอคโกแลตที่สนนราคา 180 เยน หมีแต่ละตัวจะมีชื่อและวันเกิดประจำตัว ทั้งคอลเลคชั่นมีทั้งหมด 365 ตัว
ลองคลิกเข้าไปดูหมีประจำวันเกิดได้ในเว็บไซต์ www.meiji.co.jp ซึ่ง
จะเรียงตามวัน หน้าตาหมี ๆ ทั้งหลาย
ก็ไม่ค่อยต่างกันเท่าไรจะมีต่างกันก็ที่สีและลายของผ้าที่ตัว
ข่าวว่าลูกค้าสาว ๆ ตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัย 20-30 ปีติดกันงอมแงม บางคนก็พยายามสะสมให้ครบ 365 ตัวในขณะที่บางคนควานหาแต่ตัวที่มีวันเกิดตรงกับของตัวเอง
หลาย
ๆ คน ตั้งข้อสังเกตว่าเพราะเหตุใดผู้คนถึงบ้ากันปานนี้
ในสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ที่ทุกคนต้องพยายามจ่ายเงินทุกบาททุกสตางค์เพื่อแลก
คุณภาพจากสินค้าให้มากที่สุด
แต่กลับกลายเป็นว่าบ้าของแถมมากกว่าที่จะเลือกตัวสินค้าหลาย ๆ
คำ
ตอบมีว่าเนื่องจากคุณภาพสินค้าในปัจจุบันมีคุณภาพทัดเทียมกัน
ของแถมเลยกลายเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ
แต่ผู้เขียนเห็นว่าสาเหตุหนึ่งมาจากการออกสินค้าใหม่ ๆ
ในไลน์สินค้าที่ใกล้เคียงที่มี SEGMENTATION ใน
รูปแบบและเนื้อหาที่ละเอียดย่อยยิบจนคนซื้อมึนงงเหมือนโดนกราดด้วยกระสุนปืน
กล สินค้าใหม่เป็นตัวสร้างยอดขายได้จริง แต่ถ้ามีสินค้าใหม่ออกมามาก ๆ
แล้วใครจะตามกินหมดไหว ขยันออกเหลือกิน
กระแส
บ้าของแถมที่เป็นของเล่นตัวการ์ตูนเป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นถึง
ความคลั่งไคล้ในการ์ตูนของชาวญี่ปุ่นที่ไม่ได้จำกัดวงแต่เด็กเท่านั้นหากยัง
ลุกลามไปทั่วและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หาก
ไปสังเกตการณ์บนรถไฟฟ้าในกรุงโตเกียวจะเห็นว่าผู้ชายตัวโต ๆ
นี่แหละนั่งอ่านยืนอ่านการ์ตูนเล่มหนากันอย่างหน้าตาเฉย
ปรากฎการณ์ตัวการ์ตูนที่ฮิตสนั่นเมืองจากโปเกมอนที่มีตัวการ์ตูนหลาย ๆ
แบบก่อให้เกิดสินค้าไม่ว่าจะเป็นเครื่องเขียน เครื่องใช้ เสื้อผ้า กระเป๋า
เรียกว่าของใช้รอบตัวมีหมด
เมื่อก่อนเราจะเห็นของเหล่านี้วางขายอยู่ในร้านกุ๊กกิ๊กแบบร้าน SANRIO ตามศูนย์การค้าต่าง ๆ
แต่
ปัจจุบันในกรุงโตเกียว แถวย่านขายเครื่องไฟฟ้าชื่อดัง อากิฮาบาร่า
ที่คนไทยหลาย ๆ
คนที่เคยไปเยี่ยมเยือนประเทศญี่ปุ่นคงจะรู้จักกันดีได้กลายเป็นแหล่งขายของ
ผลิตภัณฑ์พะตัวการ์ตูนสำหรับผู้ใหญ่ไปแล้ว
ย่าน
ดังกล่าวที่ว่าเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
หลังจากที่โดนระเบิดในช่วงสงครามเป็นหน้ากลองโดยเริ่มต้นจากเป็นที่รวมของ
ร้านขายอะไหล่ชิ้นส่วนวิทยุ คล้าย ๆ บ้านหม้อของไทย
ข้าวของที่ขายในย่านนี้ก็มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
จากชิ้นส่วนวิทยุไปเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า แล้วกลายเป็นคอมพิวเตอร์ ภาย
หลังที่การแข่งขันตัดราคาเริ่มดุเดือดขึ้นร้านค้าเหล่านั้นก็เริ่มผันตัวไป
ตามกระแสจนปัจจุบันนี้ร้านค้าที่ขายของที่ผลิตมาจากตัวการ์ตูนต่าง ๆ
ก็ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด จากที่ในอดีตผู้ใหญ่ที่ (แอบ) บ้าสินค้าจำพวกนี้ต้องไปเลือกซื้อในนิทรรศการการ์ตูนที่จัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี
ร้านแรกที่จุดกระแสดังกล่าวชื่อ Toranoana มีถึง 2 สาขาในย่านเดียวกันนี้ 1 ใน 2 สาขาดังกล่าวอยู่บนอาคารสูง 8 ชั้นริมถนนโดย Toranoana มีพื้นที่ขายถึง 5 ชั้นในอาคารดังกล่าว ลองจินตนาการดูว่าอลังการปานใด หลังจากร้านนี้เปิดอีก 30 ร้าน
ก็เปิดตามกันมา สินค้าที่ขายก็หลากหลายไม่ว่าจะเป็น เกมส์ ตัวหุ่นการ์ตูน
หรือแม้กระทั่งเสื้อผ้าที่จะได้แต่งให้เหมือนตัวการ์ตูนสุดโปรดได้เหมือ
นเป๊ะ
การ
ทำโปรโมรชั่นแจกของแถมจะต้องดูกระแสทิศทางลมของความนิยมในสังคมนั้น ๆ
แต่กระแสความนิยมที่เกิดจากความต้องการที่เห็นกันจะ ๆ
นั้นไม่ค่อยจะสร้างยอดขายได้ถล่มทลายเท่าใดนัก
ใครที่คาดเดาความต้องการที่ซ่อนเร้นในหัวใจของผู้ใหญ่ตัวโต ๆ
หรือเด็กตัวเล็ก ๆ ได้ก็คงจะได้รางวัลงาม ๆ เป็นยอดขายล้นทะลัก การดู (เดา) ใจของผู้บริโภคคงเป็นการบ้านของนักการตลาดให้คิดต่อกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เนื่องจากคุณภาพสินค้าในปัจจุบันมีคุณภาพทัดเทียมกัน “ของแถม”เลยกลายเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ
ฉบับที่ 14 เมษายน 2544
ref:http://www.marketeer.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น