Lexus อย่ายอมแพ้คำว่า “ทำไม่ได้”
ในปี 2002 Lexus ขึ้นแท่นเป็นเป็นอันดับหนึ่งในตลาดรถหรูของสหรัฐอเมริกา ทิ้งคู่แข่งอย่าง Mercedes Benz BWM และ Volvo ไว้ข้างหลัง ชนิดแทบไม่เห็นฝุ่น แต่ใครจะรู้บ้างว่า กว่าจะเป็นรถยนต์ที่หลายคนชื่นชม ทีมงาน Lexus ต้องฝ่าฟันคำสบประมาทว่า “ทำไม่ได้” มานักต่อนัก
ไม่อยากเป็นรถชั้นสอง
วันหนึ่ง ยูกิยาสึ โตโก ผู้
บริหารคนหนึ่งของโตโยต้าสาขาเซาท์แคลิฟอร์เนีย เริ่มสังเกตว่าเพื่อนๆ
ของเขา ซึ่งต่างก็เป็นผู้บริหารมีฐานะ
ไม่เหลียวแลโตโยต้าเลยเมื่อจะซื้อรถยนต์สักคันหนึ่ง
ผู้บริหารเหล่านี้เห็นว่ารถ Benz หรือ BMW ดูจะเหมาะกับตนเองมากกว่า ความจริงข้อนี้รบกวนใจโตโกนัก เขาไม่พอใจที่เพื่อนๆ มองว่าโตโยต้าเป็นรถยนต์ชั้นสอง โตโกเชื่อว่า ในเมื่อสามารถผลิตรถยนต์ที่มีคุณภาพและประหยัดน้ำมันจนเป็นที่ยอมรับได้ ทำไมโตโยต้าจะผลิตรถยนต์หรูๆ ระดับเดียวกับ Mercedes Benz ไม่ได้ จากจุดนี้เองที่ความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ได้เริ่มต้น
องค์กรอนุรักษ์นิยม
เมื่อตัดสินใจแล้ว โตโกก็ได้คิดว่า ถ้า
โตโยต้าจะผลิตรถยนต์ให้ได้รับการยอมรับในตลาดระดับสูง
บางทีอาจต้องหาช่องทางการขายใหม่ และสร้างชื่อยี่ห้อใหม่เลยทีเดียว
เขานำความคิดนี้เสนอฝ่ายบริหาร แต่เนื่องจากโตโยต้านั้นขึ้นชื่อเรื่องวัฒนธรรมแบบอนุรักษ์นิยม ทั้งรูปแบบการบริหาร ไปจนถึงวิถีทางการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ดังนั้น ข้อเสนอของโตโกที่จะให้หันมาจับตลาดรถหรูจึงเป็นเรื่องยากจะรับได้ ผู้บริหารส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากในยุคนั้น ตลาดรถยนต์ระดับบนเปรียบเหมือนกับแดนสนธยาสำหรับโตโยต้า ชาว
โตโยต้าต่างรู้สึกหวั่นหวาดเมื่อต้องก้าวออกไปนอกกรอบอันมั่นคงที่ใช้มานาน
แถมยังต้องแข่งขันกับเจ้าตลาดอย่างรถยนต์จากยุโรป
ยิ่งได้ตระหนักว่าจะต้องพัฒนารถยนต์ขึ้นมาใหม่
และต้องสร้างแบรนด์ใหม่ด้วยแล้ว
ความคิดของโตโกจึงเป็นเรื่องเสี่ยงมากเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม หลังจากถกเถียงกันอย่างหนัก ในที่สุด โตโกก็ผลักดันให้โครงการ Lexus เกิดขึ้นได้
เสี่ยงอย่างมีหลักการ
เนื่องจากโครงการนี้สำคัญอย่างยิ่งยวด โตโยต้าจึงมอบหมายให้หัวหน้าวิศวกรมือหนึ่งอย่าง อิจิโร ซูซูกิ เป็นผู้ดำเนินการ ซูซูกินั้นเป็นลูกหม้อโตโยต้าขนานแท้ เพราะเขาไม่ยอมตัดสินใจสุ่มสี่สุ่มห้าโดยไม่พิจารณาข้อมูลทุกแง่มุมให้ถี่ถ้วนเสียก่อน เขาเริ่มต้นรวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์แบบ Focus Group ผู้ถูกสัมภาษณ์คือผู้ใช้รถยนต์ Benz BMW Audi และ Jaguar โดยสอบถามเหตุผลที่เลือกซื้อรถยนต์ยี่ห้อนี้ และเหตุผลที่ปฏิเสธรถยนต์ยี่ห้ออื่น
ผลการสัมภาษณ์นั้นเป็นไปดังที่เราคาดเดาได้ เพราะคนที่เลือก Benz นั้นเห็นแก่คุณภาพ มูลค่า และความคงทน ขณะที่คนขับ BMW เห็นแก่สไตล์และการใช้งาน ส่วนคนที่เลือก Volvo ก็เพราะต้องการความปลอดภัยและคุณภาพน่าเชื่อถือ
เมื่อ
ซูซูกิให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เปรียบเทียบระหว่างรถยนต์จากยุโรป อเมริกา
และญี่ปุ่น เขาก็ตระหนักว่า รถยนต์จากญี่ปุ่นนั้น แม้จะเป็นที่ยอมรับว่า
มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ แต่ไม่เคยดูเป็นรถยนต์ที่หรูหรามีระดับเลย
เมื่อเจาะลึกความคิดเห็นของลูกค้ารถ Mercedes Benz ซู
ซูกิรู้สึกหงุดหงิดมากที่พบว่า
สิ่งที่คนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกคือ ภาพลักษณ์ที่หรูหรา
และสถานภาพทางสังคม รองลงมาจึงเป็นคุณภาพ มูลค่าเมื่อขายต่อ สมรรถนะในการขับขี่ และความปลอดภัย เรียงตามลำดับ
ระบุเป้าหมาย
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ทำให้ซูซูกิตัดสินใจได้ว่าจะพัฒนา Lexus ไปในทิศทางใด อาจกล่าว
ได้ว่าเป็นเพราะธรรมชาติวิสัยของวิศวกรนั่นเอง
ที่ทำให้เขาไม่ชอบใจนักที่คนจะเห็นคุณค่าของรถยนต์เป็นเครื่องแสดงฐานะ
แทนที่จะเป็นยานพาหนะใช้งาน ในเมื่อผู้ขับขี่รถ Mercedes Benz เห็นว่า ความหรูหรามีระดับ มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ซูซูกิจึงตัดสินใจที่จะแข่งขันกับ Mercedes Benz ด้วยคุณสมบัติพื้นฐานที่รถทุกคันควรมี นั่นคือ สมรรถนะในการขับขี่
เป้าหมายที่ “เป็นไปไม่ได้”
เมื่อตัดสินใจได้แล้ว วิศวกรมือหนึ่งของโตโยต้าเฝ้าถามตัวเองว่า อย่างไรจึงจะถือว่าเป็นรถยนต์คุณภาพสูง รถยนต์แบบไหนกันจึงจะถือได้ว่าเป็นรถหรูคุณภาพเยี่ยม แม้ว่าความหรูหรามีระดับ ไม่ใช่เรื่องถนัดของโตโยต้าเลย แต่ซูซูกิตัดสินใจว่าจะแข่งขันกับ Mercedes Benz ดูสักตั้ง เขากำหนดว่า รถยนต์ในอุดมคตินั้น ต้องดูมีชีวิต มีสไตล์ (ซึ่งเป็นสิ่งที่ Mercedes Benz ไม่มี) ต้องเป็นรถที่แล่นได้เร็วถึง 250 กม./ชม. (ซึ่งต้องลดแรงเสียดทานลงให้ได้มากที่สุด) แถมยังต้องประหยัดน้ำมัน และไม่ส่งเสียงดัง หรือสั่นสะเทือนขณะแล่นด้วยความเร็วสูงอีกด้วย เมื่อซูซูกิบอกเป้าหมายให้พวกวิศวกรทราบ ทุกคนต่างส่ายหน้าบอกว่า “เป็นไปไม่ได้” แต่เขาไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เพราะรู้ดีว่า ถ้าสามารถสร้างรถที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ได้สำเร็จ Lexus จะไม่ใช่แค่รถที่ดีกว่า Mercedes Benz แต่จะเป็นรถที่เหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว
คิดให้เป็นไปได้
แม้เหล่าวิศวกรจะพยายามชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่เขาต้องการนั้น เป็นเรื่องยากเกินจริง แต่ซูซูกิไม่ท้อถอย เขากลับมาพิจารณาคุณสมบัติที่ต้องการทีละข้อ
ในเรื่องของสไตล์นั้น แม้
หลายคนท้วงติงว่า รถยนต์ที่สมรรถนะดี มักไม่มีลูกเล่นหรือสไตล์สวยงาม
แต่ซูซูกิเห็นว่า การสร้างรถที่ทั้งดีและมีสไตล์ไม่ใช่เรื่องยาก
ถ้าฝ่ายออกแบบและฝ่ายช่างร่วมมือกัน และพยายามากพอ
ส่วน
คุณสมบัติด้านสมรรถนะในการขับขี่นั้น
ซูซูกิคิดว่าการออกแบบรถให้แล่นได้เร็ว และประหยัดน้ำมันนั้น
สามารถพัฒนาไปควบคู่กันได้ เนื่องจาก
ถ้าออกแบบให้รถมีน้ำหนักเบาจะประหยัดน้ำมันได้มาก
และยังทำให้รถแล่นได้เร็วด้วย
ซึ่งเมื่อออกแบบให้มีแรงเสียดทานน้อยด้วยก็จะยิ่งเพิ่มความเร็วได้อีก เมื่อเขาชี้ข้อนี้ให้เห็น ทีมวิศวกรจึงเริ่มเห็นแนวทางในการแก้โจทย์ต่างๆ ที่ซูซูกิให้มา
อย่างไรก็ตาม ทุกคนยังคงเห็นว่า การทำให้รถที่แล่นได้แรงและเร็วถึง 250 กม./ชม. มีความเงียบและไม่สั่นสะเทือนนั้น เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้อยู่ดี
ขุดคุ้ยถึงก้นบึ้งของปัญหา
ซู
ซูกิเองก็ยอมรับว่า รถที่แล่นได้แรงและเร็ว
กับเสียงดังสนั่นนั้นเป็นของคู่กัน อย่างไรก็ตาม เมื่อกลับมาคิดดูอีกที
ซูซูกิก็เกิดความคิดว่า เสียงที่ดังสนั่นนั้นเป็นผลมาจากเครื่องยนต์
เขาจึงคิดว่า จะเป็นไปได้ไหม
ที่ทีมวิศวกรของโตโยต้าจะคิดค้นเครื่องยนต์แบบใหม่ที่มีกำลังแรง
และสมรรถนะดีเยี่ยมจนไม่ส่งเสียงดังและไม่สั่นสะเทือน
ซูซูกิแจ้งความประสงค์ให้วิศวกรเครื่องยนต์ทราบ ทุกคนต่างส่ายหน้าบอกว่าทำไม่ได้ อย่าง
ไรก็ตาม ซูซูกิเข้าหาหัวหน้าฝ่ายวิศวกรการผลิต หลังจากคุยกันไปคุยกันมา
หัวหน้าฝ่ายวิศวกรออกปากว่า
เขากับลูกทีมอาจลงมือสร้างเครื่องยนต์แบบที่ซูซูกิต้องการได้ แต่คงไม่สามารถสร้างแบบผลิตคราวละมากๆ ได้แน่นอน ซูซูกิจึงต่อรองว่า อยากให้ฝ่ายผลิตลองดูสักตั้งหนึ่ง ถ้าทำไม่ได้จริงๆ เขาก็จะเลิกราโครงการนี้
เครื่องยนต์ต้นแบบที่ได้นั้นเป็นเครื่องยนต์ประกอบมือล้วนๆ ผลที่ได้นั้นดีเกินคาดหมาย เพราะมีทั้งประสิทธิภาพและความเร็ว แถมยังประหยัดน้ำมัน และสั่นสะเทือนน้อยมากจนทีมงานประทับใจ ความ
สำเร็จที่ได้ทำให้ทีมผู้สร้างเครื่องยนต์ต่างมีกำลังใจ
และรู้สึกท้าทายที่จะคิดค้นวิธีผลิตเครื่องยนต์ชนิดนี้ในแบบอุตสาหกรรมให้
ได้อีกด้วย
เมื่อศาสตร์และศิลป์ประลองกัน
เมื่อ
แก้ปัญหาเรื่องเครื่องยนต์สำเร็จแล้ว ปัญหาข้อสุดท้ายของซูซูกิคือ
ทำอย่างไร
รถยนต์รุ่นใหม่นี้จึงจะมีรูปลักษณ์ที่ทั้งมีสไตล์และมีแรงเสียดทานน้อย
แรกทีเดียว เขาให้ฝ่ายออกแบบทำโมเดลรถมาให้วิศวกรดู
แต่ทำมาเท่าไหร่ก็ไม่ผ่านมาตรฐานด้านแรงเสียดทานสักแบบเดียว ในที่สุดเขาจึงแก้ปัญหาโดยเลือกโมเดลมาอันหนึ่ง แล้วให้ฝ่ายวิศวกรลองปรับแต่งดู วิศวกรนั้น เมื่อได้โมเดลมาแล้ว ก็จัดการปรับแต่ง ตัดตรงโน้นบ้าง ตรงนี้บ้าง เพื่อลดแรงเสียดทานให้ได้มากที่สุด ผลที่ได้นั้น คือรถยนต์รูปร่างน่าเกลียดที่สุด
อย่างไรก็ตาม การที่วิศวกรได้ลองมาตัดแต่งด้วยตนเอง ทำให้เขาเข้าใจเงื่อนไขต่างๆ มากขึ้น และเริ่มจับทางได้ว่าจะลดแรงเสียดทานของรถได้อย่างไร ต่อ
มาเมื่อวิศวกรพยายามอีก โดยทำงานร่วมกันกับฝ่ายออกแบบรถอย่างใกล้ชิด
ในที่สุดจึงได้แบบรถที่ทั้งมีสไตล์และมีแรงเสียดทานน้อยตามต้องการ
ประวัติศาสตร์หน้าใหม่
เมื่อโครงการของซูซูกิเสร็จสมบูรณ์ ผู้คนต่างประทับใจที่ Lexus สามารถแล่นได้เร็วถึง 160 กม./ชม. โดยให้ความรู้สึกเหมือนแล่นด้วยความเร็ว 100 กม./ชม. คุณสมบัติเด่นด้านสมรรถนะ และรูปลักษณ์ที่มีสไตล์ ทำให้ยอดขาย Lexus เอาชนะ Mercedes Benz ได้สำเร็จ ในปีที่ Lexus เปิดตัวนั้น แม้จะรวมยอดขายของ Benz ทั้ง 3 รุ่น คือ 300E และ 420SE กับ 560SEL แต่ตัวเลขที่ได้ยังแพ้ Lexus ที่มียอดขายมากกว่าถึง 2.7 เท่า ความสำเร็จของ Lexus ได้
เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่โตโยต้า
และเป็นแรงผลักดันให้องค์กร์อนุรักษ์นิยมแห่งนี้ก้าวไปสู่ดินแดนใหม่ที่ไม่
เคยเหยียบย่างมาก่อน ที่สำคัญ ความสำเร็จของ Lexus เป็นบทพิสูจน์ให้รู้ว่า ไม่มีสิ่งใดที่ทำไม่ได้
ฉบับที่ 51 พฤษภาคม 2547
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น