วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตลาด Sea Snack แหล่งรวมเพาเวอร์แบรนด์

ตลาด Sea Snack แหล่งรวมเพาเวอร์แบรนด์    

ตลาด Sea Snack แหล่งรวมเพาเวอร์แบรนด์
ที่มา http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=95522
เซ็กเมนต์ซีสแน็ก นอกจากผลิตภัณฑ์จากปลาและสัตว์ทะเล ยังจัดผลิตภัณฑ์สาหร่ายทอด อบ และย่าง รวมอยู่ในหมวดเดียวกันด้วย ทำให้เป็นเซ็กเมนต์ของสแน็กที่รวมแบรนด์ดังไว้มากมาย เพราะในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเฉพาะสาหร่ายอย่างเดียวมีการเปิดตัว จัดกิจกรรมและแข่งขันกันในตลาดอย่างคึกคัก

แต่ละแบรนด์ส่งเข้าแข่ง จากค่ายดังๆ อาทิ มาชิตะจากค่ายสิงห์หรือบุญรอดบริวเวอรี่ โอโนริจากโออิชิหรือไทยเบฟ ฮ่าฮ่าฮ่าจากยูไนเต็ด ซีลิโกะซึ่งไม่ใช่ค่ายดังแต่ด้วยความที่เข้าตลาดมาก่อนก็มีส่วนแบ่งถึง 13% รองจากเถ้าแก่น้อยซึ่งเป็นเบอร์หนึ่งของสาหร่ายที่มีส่วนแบ่งอยู่มากกว่า 70% ไม่รวมกับแบรนด์เล็กแบรนด์น้อยอีกมากมาย

แต่ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์จาก ทะเลที่เอ่ยชื่อแล้วเกือบทุกคนรู้จัก ต้องนึกถึง สควิดดี้ (Squidy) และเต่าทองสควิดดี้ ของบริษัท กรีนแลนด์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ซึ่งมีผลิตภัณฑ์แบรนด์อื่นในเครือ เช่น คาราด้า ไดโกะ ขนมปลาหมึกอบกรอบทะเลทอง อเล็ตป็อปคอร์น และน้ำมะพร้าวบ้านสวน เป็นแบรนด์ที่เกิดมาในตลาดนานถึง 30 ปี เป็นสแน็กที่จัดว่าราคาสูง เป็นแบรนด์ที่แข็งแรงจนเป็นที่รู้จักของกลุ่มผู้ชื่นชอบซีสแน็ก เช่นเดียวกับปลาหมึกเต่าทอง ของบริษัท ซันยางอุตสาหกรรมอาหาร เจ้าของเดียวกับปลาเส้นเท็น เท็น และเท็นจังสติ๊ก ซึ่งออกมาจับตลาดซีสแน็กที่ราคาถูกกว่าเต่าทองแต่ยังจัดอยู่ในเซ็กเมนต์ เดียวกัน

ทั้งสควิดดี้และเต่าทอง ประสบปัญหาเดียวกันจากแบรนด์อันแสนเข้มแข็ง เพราะถูกใช้เป็นตัวบรรยายสรรพคุณขอผลิตภัณฑ์อาหารทะแลแปรรูปของบรรดาสินค้า โอท็อปของจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์จากทะเล ทั้งจากภาคตะวันออกและภาคใต้ จนชื่อสควิดดี้ กลายเป็น Generic Name ของปลาหมึกปรุงรสอบกรอบ ขณะที่เต่าทองก็เป็น Generic Name ของปลาหมึกเส้นปรุงรสเช่นกัน เป็นแบรนด์ที่ถูกนำมาอธิบายและโฆษณาผลิตภัณฑ์โอท็อปโดยไม่ได้ค่าลิขสิทธิ์

อย่าง ไรก็ตาม แม้จะมีรสชาติใกล้เคียง แต่ก็ไม่มีสินค้าโอท็อปหรือสินค้าจากท้องถิ่นไหนที่ทำรสชาติได้เหมือนกับ ทั้งสองแบรนด์เสียทีเดียว เป็นเหตุผลที่ทำให้ทั้งสองแบรนด์ยังคงอยู่และรักษายอดขายของตัวเองมาได้ อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการทำกิจกรรมชิงโชคบ้างแต่ก็ทำแบบเงียบๆ เพื่อไม่ให้แบรนด์หายไปจากตลาดและรักษายอดขายที่มีอยู่ไว้ เช่น การชิงโชคโน้ตบุ๊กของสควิดดี้ หรือนำซองเปล่าไปซื้อตั๋วหนัง 1 ที่แถม 1 ที่ของเต่าทอง ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมของทั้งสองแบรนด์ก็เน้นไปที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ไม่ ต่างจากทาร์เก็ตของท็อป 3 ของซีสแน็กอย่างทาโร่ เบนโตะ และฟิชโช จะว่าไปทั้งสองแบรนด์ก็ประสบปัญหาเดียวกับสินค้าประเภทน้ำดำที่มีสินค้าทด แทนในตลาดมากมายเป็นอุปสรรค ที่สำคัญราคาถูกกว่าค่อนข้างมาก

ปัจจุบัน นี้ ทั้งสองแบรนด์แม้จะแข็งแกร่งแค่ไหนก็จึงเป็นเพียงแบรนด์ที่เซิร์ฟได้แค่ผู้ บริโภคจำนวนหนึ่ง และมีข้อดีตรงที่เป็นกลุ่มที่มีแบรนด์ลอยัลตี้สูง แต่ทั้งคู่ก็ถูกจัดอยู่ในซีสแน็กที่มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ในกลุ่มรายยิบรายย่อย อีกกว่า10 แบรนด์ที่มีส่วนแบ่งในตลาดซีสแน็กมูลค่า 3,000 ล้านบาทต่อปีเพียงแค่ 10% เศษ 

“ผมรู้จักสองแบรนด์นี้ตั้งแต่เด็ก ต้องยอมรับว่าการที่แบรนด์เขายังอยู่ได้ก็แสดงให้เห็นถึงพลังของแบรนด์อย่าง แท้จริง” วิชัยบอก และนั่นเท่ากับย้ำว่าการปรับใหญ่โดยหันมาสร้างแบรนด์ฟิชโชครั้งนี้เป็น เรื่องถูกต้องยิ่งแล้ว และถ้าแบรนด์เหล่านี้รวมถึงเบอร์หนึ่งจะรุกขึ้นมาทำอะไรใหญ่โตเพื่อโต้กลับ ฟิชโช วิชัยก็ยินดี โดยกล่าวทิ้งท้ายว่า

“ถ้าแบรนด์อื่นกระโดดเข้ามาช่วยกันทำให้แคทิกอรี่มันโตผมว่าสนุก อันนี้ไม่ได้ท้าทาย แต่ว่าเราทำก่อนดีกว่า”

ตลาดสแน็กไทยมูลค่าปีละ 24,000 ล้านบาท แบ่งเป็น
มันฝรั่งแผ่น (Potato Chip) 35%
ขนมขึ้นรูป (Extrude) 27%
ซีสแน็ก (Sea Snack) 16%
ถั่ว (Peanut) 12%
ข้าวที่ทำจากแป้งหรือข้าว (Rice Cracker) 5%
ข้าวเกรียบกุ้ง (Prawn Cracker) 4%
ข้าวโพดคั่ว (Popcorn) 1%
ที่มา : MAT, มิถุนายน 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น