สงครามหนังสืออีกยก
July 06 2012
มี
สิ่งหลงยุคที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งกลางศูนย์กระจายสินค้าส่วนใหญ่ของ
Amazon.com นั่นคือชั้นวางหนังสือยาวเหยียดสุดลูกหูลูกตาแบบเดิมๆ Amazon
เก็บหนังสือเหล่านี้ไว้สำหรับลูกค้าจำนวนมากผู้ยังรักความรื่นรมย์จากการได้
จับต้องการอ่านหนังสือบนหน้ากระดาษ
แต่บริษัทก็กำลังพยายามอย่างเต็มที่กับการเพิ่มประสิทธิภาพ
และเตรียมวิธีง่ายๆ สำหรับกำจัดชั้นหนังสือเหล่านั้นพร้อมอยู่แล้ว
นั่นคือการพิมพ์หนังสือตามสั่งด้วย
เครื่องพิมพ์ที่ได้มาตรฐานของอุตสาหกรรมและไฟล์หนังสือดิจิตอลจากสำนัก
พิมพ์ Amazon จึงสามารถรอจนกระทั่งมีลูกค้าคลิกปุ่ม “สั่งซื้อ”
สีเหลืองแล้วจึงพิมพ์หนังสือออกมาได้อย่างง่ายดายเทคโนโลยีนี้ได้รับเสียง
สนับสนุนจากบรรดาผู้ต้องการให้ธุรกิจหนังสือคล่องตัวมากขึ้นและมันก็อาจกลายเป็นชนวนระเบิดใน
ธุรกิจการพิมพ์หนังสือที่มีการแข่งขันสูงมากด้วยอุตสาหกรรมหนังสือไม่อยาก
เผชิญการเปลี่ยนแปลงรุนแรงมากกว่านี้แล้วการเปิดตัวเครื่องอ่านอีบุ๊ค
Kindle ในปี 2007 และการที่ Amazon ยืนยันว่าต้องการให้หนังสือใหม่มีราคา
9.99 เหรียญเพื่อเอาใจลูกค้า ก่อความขัดแย้งหลายแง่มุม
ความพยายามของสำนักพิมพ์รายใหญ่ที่ต้องการหลบหลีกกลยุทธการตั้งราคาของ
Amazon ดังกล่าว ทำให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ให้ความสนใจ และเมื่อเร็วๆ
นี้ได้ยื่นฟ้อง Apple และสำนักพิมพ์ 5
แห่งตามกฎหมายเกี่ยวกับการผูกขาดทางการค้า
โดยกล่าวหาว่ามีการฮั้วกันขึ้นราคาอีบุ๊ค (มีสำนักพิมพ์ 3 แห่งยอมความ)
ประเด็นเรื่องการพิมพ์หนังสือตามสั่งตกเป็นเรื่องรองไปในขณะที่ปัญหาเกี่ยว
กับอีบุ๊คที่ว่ามานั้นกำลังดำเนินอยู่
แต่ผู้บริหารบางคนของสำนักพิมพ์ใหญ่บางแห่งใน New York
ซึ่งขอไม่เปิดเผยชื่อเสียงเรียงนาม
เนื่องจากบริษัทของพวกเขากำลังอยู่ในช่วงดำเนินการทางกฎหมาย บอกว่า Amazon
มักติดต่อมาเพื่อขออนุญาตใช้วิธีการพิมพ์หนังสือตามสั่งกับหนังสือเล่มเก่าๆ
ที่มียอดขายไม่ดีของพวกเขา แต่พวกเขาก็ปฏิเสธเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ด้วยเกรงว่า Amazon
จะใช้การพิมพ์หนังสือตามสั่งดึงรายได้ของธุรกิจการพิมพ์หนังสือเข้าหาตัวมาก
ยิ่งขึ้น การขอให้สำนักพิมพ์ใช้ระบบพิมพ์หนังสือตามสั่ง “หลักๆแล้ว
เป็นเรื่องของการเข้าควบคุมธุรกิจไว้ในกำมือ” เป็นคำกล่าวของ Mike Shatzkin
ผู้ก่อตั้ง Idea Logical บริษัทให้คำปรึกษากับสำนักพิมพ์ต่างๆ
เรื่องหนังสือดิจิตอล “มันช่วยเพิ่มส่วนต่างกำไรก็จริง
แต่ทำให้ส่วนอื่นๆของธุรกิจการพิมพ์อ่อนแอลงด้วย”
การพิมพ์หนังสือตามสั่งมีมานานเกินทศวรรษแล้ว ปี 1997
ผู้ค้าส่งหนังสือรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในนาม
Ingram Content Group ได้ตั้งแผนกชื่อ Lightning Source
บริการสำนักพิมพ์ที่ต้องการพิมพ์หนังสือบางเล่มจำนวนจำกัด ปี 2005 Amazon
ซื้อกิจการผู้ให้บริการพิมพ์หนังสือตามสั่งคู่แข่งชื่อ BookSurge
และเริ่มเสนอทางเลือกให้สำนักพิมพ์มีคลังหนังสือเพิ่มเติมด้วยการพิมพ์
หนังสือตามสั่งเมื่อหนังสือเล่มจริงจำหน่ายหมดปัจจุบันบริษัท ชื่อ
CreateSpace ของ Amazon
ให้บริการแก่สำนักพิมพ์ขนาดเล็กและนักเขียนที่พิมพ์หนังสือขายเอง
ส่วนเทคโนโลยีด้านนี้ก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
และทุกวันนี้หนังสือพิมพ์ตามสั่งก็มีหน้าตาไม่ต่างจากหนังสือปกอ่อนทั่วไป
เลย
บรรดาสำนักพิมพ์ต่างเป็นห่วงว่าความนิยมพิมพ์หนังสือตามสั่งที่ขยายไป
เรื่อยๆ (เช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของอีบุ๊ค)
อาจกระทบต่อรูปแบบธุรกิจที่ดำเนินมานับร้อยปีของพวกเขา
บริษัทอย่าง Random
House และ Simon & Schuster
ได้ลงทุนตลอดระยะเวลาหลายสิบปีไปกับการสร้างระบบลำเลียงวัตถุดิบและสินค้า
การเก็บหนังสือในคลังสินค้าขนาดยักษ์ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง
เพื่อส่งหนังสือไปสู่ร้านค้าได้ในเวลาไม่กี่วัน
ซึ่งหากการพิมพ์หนังสือตามสั่งแพร่หลาย
สำนักพิมพ์ก็อาจตัดรายจ่ายคงที่ของพวกเขาได้พร้อมกับแก้ไขปัญหาเรื้อรัง
เกี่ยวกับการเก็บหนังสือที่ขายไม่ออกและถูกส่งคืน
แต่นั่นก็จะทำให้ส่วนประกอบอื่นๆ
ที่เหลือเกือบทั้งหมดมีปัญหาในวิถีทางที่สำนักพิมพ์ใหญ่ๆดำเนินธุรกิจ
เนื่องจากพวกเขาตั้งราคาหนังสือโดยพิจารณาถึงบริการอีกหลายส่วน
ไล่ตั้งแต่การแนะนำหนังสือโดยบรรณาธิการ ไปจนถึงการเก็บและการกระจายหนังสือ
แต่เทคโนโลยีการพิมพ์หนังสือตามสั่งจะทำให้สำนักพิมพ์คงราคาขายส่งของ
หนังสือส่วนใหญ่เอาไว้ได้ยากเต็มที
หนึ่งในผู้บริหารสำนักพิมพ์ใน New York กล่าวว่าแม้กระทั่งการยอมให้
Amazon พิมพ์หนังสือตามสั่งสำหรับหนังสือที่ขาดตลาดก็เป็นความคิดที่ผิด
เพราะนั่นอาจทำให้ Amazon สั่งซื้อหนังสือธรรมดาน้อยลง
และการมีคลังสินค้าชนิดที่เก็บหนังสือได้ไม่จำกัดนั้น จะทำให้
Amazonมีปัจจัยอีกเรื่องที่ได้เปรียบเหนือผู้ค้าหนังสือปลีกอย่าง Barnes
& Noble
ซึ่งบรรดาสำนักพิมพ์ต้องการให้อยู่ในธุรกิจต่อไปเพื่อถ่วงดุลกับบริษัทยักษ์
ใหญ่ในวงการค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ตรายนี้
ผู้บริหารระดับสูงอีกคนหนึ่งของสำนักพิมพ์ชั้นนำใน New York บอกว่า
ยังวางใจ Amazonไม่มากพอ
สำหรับการพิจารณาเรื่องให้บริการพิมพ์หนังสือตามสั่งของบริษัท Amazon มิใช่บริษัทเดียวที่พยายามชักจูงสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ
ทั้งหลายที่ยังไม่เต็มใจให้เข้าสู่อนาคตแห่งการพิมพ์หนังสือตามสั่ง
ช่วงปลายทศวรรษ 1990 Jason Epstein บรรณาธิการผู้มากประสบการณ์ของ Random
House มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับเครื่องคล้ายตู้ ATM
ที่สามารถพิมพ์หนังสือหายากออกมาได้
ในปี 2003 เขาได้ตั้งบริษัท On Demand
Books เพื่อทำความคิดนี้ให้เป็นจริง ปัจจุบันเครื่องที่มีชื่อว่า Espresso
Book Machineของบริษัทซึ่งผลิตโดย Xerox และมีราคาประมาณ 100,000 เหรียญ
ได้ถูกติดตั้งอยู่ในร้านหนังสือไม่กี่สิบแห่งทั่วสหรัฐอเมริกา
ตู้นี้ใช้เวลาประมาณ 4 ถึง 5
นาทีในการดาวน์โหลดและพิมพ์หนังสือปกอ่อนคุณภาพสูง
เมื่อฤดูใบไม้ร่วงที่ผ่านมา HarperCollins Publishers ที่เป็นส่วนหนึ่งของ
News Corp. กลายเป็นสำนักพิมพ์ใหญ่แห่งแรกที่เปิดให้ On Demand Books
ได้ใช้ส่วนหนึ่งจากคลังหนังสือของตน ซึ่งเป็นหนังสือเก่าประมาณ 5,000 เล่ม
แต่เครื่องดังกล่าวก็ยังคงมีหนังสือยอดนิยมให้เลือกน้อยมาก
ทำให้ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร “หนังสือที่มีให้เลือกเยอะก็จริง
แต่ส่วนใหญ่เป็นหนังสือที่มีลิขสิทธิ์สาธารณะ” เป็นคำกล่าวของ Dane Neller
ซีอีโอของ On Demand Books
ที่พูดถึงหนังสือประเภทเก่ามากจนพ้นจากช่วงเวลาได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์
ไปแล้ว”
ไม่แปลกที่สำนักพิมพ์ไม่อยากกระทบกระทั่งกับผู้อยู่ในระบบกระจายสินค้าของ
พวกเขา แต่เราหวังและเชื่อว่าเรื่องนี้จะเปลี่ยนไป”
ขณะที่การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิตอลกำลังพลิกอุตสาหกรรม
การต่อต้านการพิมพ์หนังสือตามสั่งจะค่อยๆหายไปสำนักพิมพ์ขนาดเล็กทั้งหลาย
ที่เปลี่ยนไปเป็นไม่ตีพิมพ์และจัดเก็บหนังสือของพวกเขาอีกต่อไป
บอกว่ามันคุ้ม
“แทนที่จะเก็บหนังสือเหล่านั้นทั้งหมดไว้ในคลังสินค้าคุณจะมีเงินหมุนสำหรับ
ลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้น” เป็นคำกล่าวของ Laura Baldwin ประธานของ
O’Reilly Media
สำนักพิมพ์หนังสือคอมพิวเตอร์ที่ได้เปลี่ยนไปใช้การพิมพ์หนังสือตามสั่ง
เมื่อปีที่แล้วและสามารถประหยัดเงินค่าเก็บหนังสือถึง 1.6 ล้านเหรียญ
“คุณสามารถใช้เงินจำนวนนี้ลงทุนเรื่องเทคโนโลยีการพิมพ์เพื่ออนาคตซึ่งตรง
ข้ามกับการเก็บหนังสือเล่มมูลค่าเท่ากันอยู่ในคลังสินค้าเฉยๆ” – Brad Stone
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น