ตั้งสโลแกนบริษัทให้ติดปาก
สโลแกนต้องครบถ้วน โดดเด่น และดึงดูด
มนต์เสน่ห์ของสโลแกนที่ยอดเยี่ยมและติดปากผู้บริโภคมีเคล็ดลับอยู่ที่รูป ประโยคต้องโดดเด่นและมีพลังในตัวเองอย่างไม่มีขีดจำกัด ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยสะกิดความคิดของผู้บริโภคให้เข้ามาสนใจพร้อมจดจำได้ใน ทันที เช่น LG : Life’s Goodสโลแกนบ่งบอกถึงตัวตนของธุรกิจ
สโลแกนที่ดีและมีคุณภาพต้องสามารถสื่อความหมายได้อย่างตรงตัวและบอกที่มา ที่ไปอย่างครบถ้วน เพราะจะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ทันทีว่าสโลแกนที่พบเห็นเกี่ยวข้องกับ ธุรกิจประเภทใด ตัวอย่าง เช่น “ถุงเท้าคาร์สัน : ถุงเท้าที่ทุกๆ คนใส่กัน เป็นต้น”สโลแกนต้องสั้นและกระชับ
สโลแกนบริษัทจะเป็นที่จดจำก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการสามารถออกแบบรูปประโยค ให้สั้นและกระชับมากที่สุด เพราะถ้าหากสโลแกนยาวเกินไป ผู้บริโภคก็จะแค่อ่านและมองผ่านเลยไปเนื่องจากเขาไม่สามารถจดจำได้ทั้งหมด จึงไม่มีประโยชน์อะไรที่เขาจะต้องบันทึกใส่สมองไว้ แต่ในทางกลับกัน หากสโลแกนเป็นประโยคสั้นๆ และกระชับ นอกจากพวกเขาจะสามารถจำได้ในทันทีแล้วยังมีการพูดบอกต่อกันเป็นวงกว้างใน ลักษณะของปากต่อปากอีกด้วย โดยความยาวของสโลแกนไม่ควรจะเกิน 12 ตัวอักษรจะเป็นการดีที่สุด อาทิ “ฟูจิ สั่งเลยอร่อยทุกอย่าง”ความหมายของสโลแกนมีค่ามากกว่าตัวอักษร
สโลแกนไม่ควรเป็นแค่ตัวหนังสือบอกเล่าเรื่องราวเท่านั้น เพราะสโลแกนต้องสามารถแสดงออกได้ถึงจิตวิญญาณและสัมผัสได้ถึงพลังที่มีอยู่ หรือพูดง่ายๆ ก็คือต้องมีสำนวนที่คมคายและบาดลึกในจิตใจ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจดจำสโลแกนได้ในห้องที่ลึกสุดของหัวใจ อีกด้วย เช่น บริษัทรถยนต์โตโยต้าที่ใช้สโลแกนหลักว่า “เราให้คุณมากกว่ารถยนต์” เป็นต้นสโลแกนช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี
ภาพลักษณ์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก และตัวสโลแกนก็ต้องมีคุณสมบัติสร้างมิติการรับรู้ในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่าง ดีด้วย เพราะสโลแกนจะทำหน้าที่เป็นเหมือนประตูบานแรกที่ใช้เปิดรับผู้บริโภคสู่ อาณาจักรธุรกิจของเรา สโลแกนจึงเหมือนเป็นตัวแทนที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับกิจการของเราไปโดย ปริยาย ดังนั้นผู้ประกอบการต้องมีสโลแกนที่ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์อันยอดเยี่ยมใน การประกอบธุรกิจด้วย เช่น “การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า” เป็นต้นสโลแกนเป็นทั้งเอกลักษณ์และอัตลักษณ์
สโลแกนต้องสามารถถ่ายทอดความเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของธุรกิจได้อย่าง โดดเด่นและลงตัวที่สุด เนื่องจากสโลแกนทั่วๆ ไปมักสร้างสรรค์ออกมาโดยมีแนวทางและรูปแบบวิธีการที่ไม่ทิ้งกันนัก ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดีเลยเพราะผู้บริโภคมักสับสนและแยกแยะไม่ออกว่าธุรกิจ แต่ละอย่างแตกต่างกันอย่างไร การเขียนสโลแกนให้มีเอกลักษณ์พร้อมทั้งอัตลักษณ์เป็นการเฉพาะจึงมีส่วนสำคัญ ที่จะเข้ามาเติมเต็มช่องว่างที่ขาดหายไปนี้ได้ อาทิ “ไทยประกันชีวิต บริษัทของคนหัวคิดทันสมัย” เป็นต้นหลีกเลี่ยงการบัญญัติศัพท์ใหม่โดยเด็ดขาด
ถึงแม้สโลแกนจะต้องการความโดดเด่น แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องพยายามหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาดก็คือการบัญญัติศัพท์ ใหม่ขึ้นมาใช้เองเป็นการเฉพาะ เนื่องจากผู้บริโภคมีประสบการณ์ความรู้ทางด้านภาษาที่แตกต่างกันจึงอาจทำให้ เข้าใจความหมายของคำบางคำคลาดเคลื่อนไปจากสิ่งที่เราต้องการนำเสนอก็เป็นได้ มิหนำซ้ำธุรกิจของเรายังอาจถูกสับเละจนไม่มีชิ้นดีจากนักภาษาศาสตร์ก็เป็น ได้ในข้อหาทำภาษาไทยวิบัติสโลแกนต้องติดปากผู้บริโภค
หากผู้ประกอบการสามารถทำได้ทั้ง 7 ขั้นตอนที่กล่าวแล้วละก็ ขั้นตอนที่ 8 สโลแกนต้องติดปากผู้บริโภคก็จะเกิดขึ้นตามมาเองในที่สุด ทั้งนี้ความสมดุลและลงตัวในการใช้ภาษามักเป็นแรงกระตุ้นให้สโลแกนถูกเอ่ยถึง อยู่เป็นประจำ เช่น “AIS ทุกที่ทุกเวลา” หรือ “แมคโดนัลด์ ความสุขล้นเมนู” เป็นต้นหลายบริษัทต่างเฝ้าค้นหาคำตอบนานแล้วว่าสูตรสำเร็จของการสร้างสโลแกนให้ ติดปากผู้บริโภคแท้ที่จริงควรต้องทำอย่างไร เคล็ดลับความสำเร็จอยู่ที่ไอเดียการสร้างสรรค์และการทำตามหลักวิธีสากลตาม ที่ได้เสนอไปนั่นเอง เพียงเท่านี้การสร้างสโลแกนก็ดูจะไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นเหมือนงมเข็มใน มหาสมุทรอีกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น