การตัดสินใจหลักในการบริหาร SCM
ที่มากระบวนการจัดการซัพพลายเชน มีหน้าที่งานสำคัญที่ผู้บริหารต้องตัดสินใจ ประกอบด้วย
การจัดซื้อ (Purchasing or Procurement)
บทบาทของหน้าที่งานจัดซื้อในองค์กร เดิมทำหน้าที่เพียงแต่เสาะแสวงหาผู้ขายสินค้าเจรจาต่อรองเงื่อนไข
การขาย และงานด้านเอกสารการประสานงาน เพื่อให้ได้สินค้าตามกำหนดเวลาในจำนวนที่ต้องการจึงถูกมอง
เหมือนกับงานเสมียน องค์กรไม่ได้เห็นความสำคัญมากนัก ต่อมาเมื่อเล็งเห็นความสำคัญของเรื่องการจัดหา
วัตถุดิบมากขึ้น หน้าที่นี้จึงถูกเรียกว่าเป็นฝ่ายจัดหาวัตถุดิบ (Procurement) ซึ่งมีบทบาทมากกว่าทำหน้าที่ด้าน
เอกสาร บทบาทหน้าที่ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ การกำหนดสเปคของวัตถุดิบ (Material Specifications) การศึกษา
รายละเอียดของวัตถุดิบและตลาด (Material Studies and market Research) การควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ
การขนส่ง การบริหารผลตอบแทนการลงทุนอันเนื่องมาจากการซื้อวัตถุดิบ ทั้งนี้เพราะจากการศึกษาโครงสร้าง
ต้นทุนของสินค้าสำเร็จรูปพบว่ากว่า 60% เป็นต้นทุนวัตถุดิบ อีกทั้งวัตถุดิบยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ
ของสินค้าใหม่
การตัดสินใจที่สำคัญของการจัดซื้อหรือจัดหา ประกอบด้วย
1. ซื้ออะไร (What to purchase) โรงงานผลิตจะต้องกำหนดว่าจะซื้อวัตถุดิบอะไรมาเพื่อทำการผลิต
(In-house Production) แต่มิได้หมายความว่า โรงงานจะทำหน้าที่ผลิตเองไปทุกอย่าง บางครั้งอาจจะตัดสินใจ
ซื้อบางรายการจากภายนอก หรือจ้างให้โรงงานอื่น ซึ่งถนัดกว่าทำการผลิตให้ ตัวอย่างเช่น โรงงานผลิต
รถยนต์ก็จะเลือกผลิตชิ้นส่วนที่ตัวเองถนัด ส่วนที่เหลือซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูปมาประกอบแนวโน้มของการเลือก
ผลิตส่วนประกอบที่เป็นความถนัดหลัก (Core Competence) นี้เกิดขึ้นในบริษัทชั้นนำของอเมริกา เรียกว่า Lean
Manufacturing ซึ่งจะทำให้ต้นทุนรวมของสินค้าต่ำลง
2. ซื้อจากที่ไหน (Where to Purchase) การแสวงหาแหล่งวัตถุดิบ เพื่อผลิตสินค้าสำเร็จรูป เพื่อขาย
คำนึงถึงหลักการให้ได้มาก ซึ่งคุณภาพดีที่เหมาะสม (Appropriation) เวลาที่ต้องการ (at the right time)
ในปริมาณพอเพียง (Proper Quantity) สถานที่เหมาะสม (at the needed location) ราคายอมรับได้
(acceptable total cost) แหล่งวัตถุดิบที่เหมาะสมอาจเป็นแหล่งจากในประเทศ (Domestic) หรือต่างประเทศ
(International) ซึ่งจะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงวิธีการในการจัดซื้อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ตลอดจนความยุ่งยากซับซ้อน
ของพิธีการต่าง ๆ
3. ซื้อจากใคร (From Whom to Purchase) การพิจารณาผู้จัดหาวัตถุดิบ (Supplier) จะดูองค์ประกอบ
ด้านต้นทุน (Cost) ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ทั้งด้านคุณภาพสินค้าและการตรงต่อเวลา ความพอเพียงและ
ยืดหยุ่นในปริมาณสินค้าที่จัดส่ง (Availability and Fexibility) แนวคิดในการคัดเลือกผู้จัดหาวัตถุดิบ (Supplier)
ได้ถูกพัฒนาขึ้นจากแนวคิด ความร่วมมือแบบหลวม ซึ่งผู้ซื้อถือว่า ผู้จัดหาวัตถุดิบเป็นเพียงพ่อค้าคนหนึ่งซึ่ง
อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การซื้อขายอ้างอิงผลประโยชน์เป็นหลักมาสู่ความร่วมมือแบบเหนียวแน่น
(Collaborative Relationships) โดยถือว่าทั้ง 2 ฝ่ายเป็นหุ้นส่วน (Partnership) หรือพันธมิตรธุรกิจ (Strategic
alliance) ซึ่งจะต้องเปิดเผยข้อมูล แผนงานซึ่งกันและกันเพื่อเกิดการวางแผนความร่วมมือกันในระยะยาวเพื่อ
การเติบโตไปด้วย
4. การรวมอำนาจและการกระจายอำนาจจัดซื้อ (Centralized VS Decentralized) นโยบายการจัดซื้อ
วัตถุดิบและสินค้า หน่วยงานจัดซื้ออาจจะรวมศูนย์ที่ส่วนกลางโดยรวบรวมหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกั้บการจัดซื้อ
จัดหาไว้ที่หน่วยงานเดียวกัน อาทิ หน่วยงานวางแผนวิจัย การกำหนดสเปคสินค้า ศึกษาตลาด คัดเลือกผู้
จัดหา ฯลฯ จึงมีผลดีในแง่การวางแผน ควบคุม และอำนาจการต่อรองกับผู้จัดหาได้อีกนโยบายหนึ่งคือการ
กระจายอำนาจในการจัดซื้อ สำหรับบริษัทที่มีโรงงานกระจายอยู่หลายแห่ง (Multi-Plant) โดยกระจายอำนาจ
ให้หน่วยงานจัดซื้อกระจายอยู่ตามโรงงานต่าง ๆ เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน
5. จำนวนผู้จัดหา (Number of Suppliers) เป็นการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับจำนวนของผู้จัดหาวัตถุดิบ
แต่ละประเภท โดยใช้นโยบายผู้จัดหารายเดียว (Single Sourcing) หรือผู้จัดหาหลายราย (Multiple Sourcing)
เพื่อกระจายความเสี่ยง นโยบายนี้สะท้อนออกมาในรูปสัญญาผู้จัดหา (Supplier Contract)
การผลิต (Production)
การตัดสินใจที่สำคัญในการจัดการผลิต ได้แก่
1. การเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน (Location of Manufacturing Plant) ปัญหาการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน
มักจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า ที่ตั้งของโรงงานควรจะอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบหรืออยู่ใกล้ตลาดผู้บริโภค โรงงานควรตั้ง
อยู่ที่ไหนจึงจะมีต้นทุนต่ำที่สุด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยพิจารณาพื้นฐานเพื่อตัดสินใจเลือกที่ตั้งโรงงานควรจะได้
คำนึงถึงต้นทุนการผลิต (Production Cost) เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนแรงงาน ข้อพิจารณาด้านภาษี และการ
จูงใจด้านสิทธิประโยชน์จากรัฐบาล โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคและระบบขนส่ง ตลอดจนความมั่นคง
ทางการเมืองและปัจจัยด้านวัฒนธรรม
2. ความยืดหยุ่น การออกแบบเครื่องจักรในโรงงาน จะต้องมีความยืดหยุ่นสามารถผลิตสินค้าได้หลาย
ชนิดหรือมีความคล่องตัวต่อการผลิตสินค้าใหม่ ๆ ตามความต้องการของตลาด
3. ประสิทธิภาพการผลิต (Production Efficiency and Reliability) ประสิทธิภาพของการผลิตสะท้อน
ออกมาในรูปของต้นทุนสินค้าที่ต่ำและใช้ระยะเวลาสั้น ส่วนความน่าเชื่อถือของการผลิตวัดโดยความแน่นอน
ของการจัดส่งสินค้า และความสม่ำเสมอของคุณภาพสินค้า
การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory)
แนวคิดการจัดการสมัยใหม่ที่พยายามจะลดปริมาณสินค้าคงคลังให้เหลือน้อยที่สุด โดยใช้วิธีการ Just in
Time (JIT) พยายามทำให้กระบวนการผลิต จัดส่งการค้าปลีก และความต้องการของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์
กันอย่างสมบูรณ์ ในความเป็นจริง การพยากรณ์ความต้องการ (Demand Forecast) เป็นไปด้วยความยาก
ลำบากเพราะมีความไม่แน่นอนในด้านความต้องการ (Uncertainty in Customer Demand) นอกจากนี้ยังมี
เหตุผลอื่น ๆ เช่น ความไม่แน่นอนของวัตถุดิบทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ต้นทุน ระยะเวลา การัดส่งหรือ
การที่โรงงานจะต้องรักษาระดับการผลิตไว้ ณ ระดับที่ต้องการประหวัดของขนาด (Economies of Scale) จึงทำ
ให้เกิดสินค้าคงคลังจำนวนหนึ่ง การตัดสินใจของผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงคลังจึงมุ่งไปที่ประเด็นสำคัญ
เช่น
- ระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
- ความพยายามหาทางลดความไม่แน่นอนในทุกด้าน
- การตัดสินใจเลือกปริมาณการสั่งซื้อ
- การเลือกใช้เครื่องมือในการพยากรณ์ตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งจะกระทบสินค้าคงคลัง
- การกำหนดปริมาณ Safety Stock
เป็นที่ทราบดีว่า การบริหารสินค้าคงคลังผิดพลาดทำให้ธุรกิจเกิดความเสียหายใหญ่หลวงไม่ว่าจะทำให้
สินค้าขาดสูญเสียยอดขาย ส่งของล่าช้า เสียค่าขนส่งสินค้าที่ขาดให้ลูกค้า และลูกค้าไม่พึงพอใจ หรือสินค้า
มีมากเกินไปจนกระทบกับการวางแผนการผลิต พลาดกำหนดการสั่งซื้อ สินค้าในสต็อกเสื่อมคุณภาพล้าสมัย
ต้องรีบหาทางระบายสต็อกโดยเงื่อนไขการขายพิเศษ
การพยากรณ์ข้อมูลการขาย (Demand Forecast)
ความยุ่งยากที่สุดในการจัดการซัพพลายเชน คือ การพยากรณ์ความต้องการในอนาคต (1) D. Simchi-Levi
ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Designing and managing the Supply Chain ว่า กฎ 3 ข้อในเทคนิคการพยากรณ์ความ
ต้องการในอนาคต คือ
1. การพยากรณ์มักจะผิดเสมอ
2. ยิ่งพยากรณ์ระยะยาวเท่าใด ความผิดพลาดจะยิ่งมากขึ้น
3. การพยากรณ์ภาพรวม (Aggregate Forecasts) มีโอกาสถูกต้องสูงกว่า
แนวคิดใหม่ในการจัดการซัพพลายเชน ปัจจุบันวัดความสำเร็จกันที่การจัดการความต้องการของลูกค้า
(Demand Management)
(1) Demand Management นั้นเป็นกระบวนการที่คาดการณ์ความต้องการและตอบสนองความต้องการ
ของลูกค้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในเรื่องของการบริการลูกค้า
“ข้อมูล” จะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ Demand Management ข้อมูลที่ต้องใช้ก็คือข้อมูลที่ได้จากตลาด ข้อมูล
จากการซื้อสินค้าของลูกค้า ข้อมูลจากโรงงานผลิต ข้อมูลเรื่องสินค้าคงเหลือ ข้อมูลจากการส่งเสริมการขาย
การคาดการณ์ในเรื่องความต้องการของลูกค้าให้ได้ถูกต้องแม่นยำเพื่อที่จะนำมาใช้นั้นเป็นไปได้ยากยิ่ง ซึ่งเรา
จะมามัวพึ่งพาข้อมูลในลักษณะดังกล่าวแต่เพียงอย่างเดียวนั้นคงไม่เหมาะ จึงเป็นที่มาของการคิดค้นระบบ
ซึ่งตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปให้ได้เร็วที่สุด เพื่อพึ่งพิงเรื่องการคาดการณ์ให้น้อยที่สุด จึงเป็นที่มา
ของหลักการของ Quick Response Logistics
Quick Response Logistics ได้กลายมาเป็นเป้าหมายหลักของหลาย ๆ องค์กร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ในการลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพในการให้บริการ หลักการคือเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าไปจากร้านข้อมูลนี้จะถูกสั่ง
กลับเพื่อไปกระตุ้นให้เกิดการตอบสนุงให้จัดส่งสินค้าไปตามที่ขาด ยิ่งส่งข้อมูลได้เร็วเท่าไรการตอบสนองก็จะ
ทำได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ก็ต้องแลกด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของการจัดส่งสินค้า แต่ก็จะทำให้สินค้าคงคลังโดย
รวมลดลงด้วยเช่นกัน
(1) David Simchi-Levi. Philip Kaminsky, Designing and managing the Supply Chain, Concepts,
Strategies, and Case Studies. Irwin McGraw-Hill 2000.
(2) ”ถนนสายใหม่ของระบบโลจิสติกส์” นิตยสาร MBA ลำดับที่ 16 น. 37
การจัดการคลังสินค้า (Warehouse)
กิจกรรมหลักในการจัดการคลังสินค้า (Basic Warehousing Activities) ได้แก่
1. Receiving การรับของเข้า การนับของ ตรวจสอบความเสียหาย
2. Inspection ตรวจสินค้าว่าถูกต้องตามใบกำกับสินค้าและใบสั่งซื้อหรือไม่
3. Put Away การจัดสินค้าเข้าชั้นวางของตามหมวดหมู่
4. Inventory Control การควบคุมปริมาณสินค้าในสต็อก การควบคุมสถานที่จัดเก็บ (Location)
5. Replenishment การเติมสินค้า
6. Order Picking การจัดสินค้า นำสินค้าออกจากชั้นวางของเพื่อเตรียมจัดส่ง
7. Checking การตรวจนับและการตรวจสอบก่อนสินค้าขึ้นรถส่งของ
8. Packing and Marking การจัดเอกสารปะหน้ากล่อง หรือเตรียมใบส่งของเพื่อส่งสินค้าไปยัง
ลูกค้า
9. Shipping การขนสินค้าขึ้นรถเพื่อส่งของออก
การจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยให้งานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
เลือกใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน การจัดการโดยตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในแต่ละงานออกเพื่อให้
ทำงานได้เร็วขึ้น ตลอดจนใช้รางวัลเป็นสิ่งจูงใจให้พนักงานทำงานได้ตามเป้าหมาย
การจัดการการจัดส่ง (Transportation)
ความพอใจของลูกค้าวัดได้ด้วยระยะเวลาของการสั่งซื้อจนถึงวันที่ได้รับสินค้าทำให้การบริหารการจัดส่ง
กลายเป็นจุดสำคัญอย่างหนึ่งของความได้เปรียบทางธุรกิจ ไม่ใช่เป็นงานของเสมียน หรือกรรมการอีกต่อไป
ประสิทธิภาพของการจัดส่งวัดโดยจำนวนออร์เดอร์ที่ได้รับ จำนวนออร์เดอร์ที่สามารถจัดส่งได้ต่อรอบระยะเวลา
จำนวนออร์เดอร์ค้างส่ง รวมถึงระยะเวลาจัดส่งเฉลี่ย อันเป็นสิ่งที่สะท้อนความพอใจของลูกค้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น