วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อินเดีย...ขุมทองของเอเชียใต้

อินเดีย...ขุมทองของเอเชียใต้

โดย คุณพิชัย ถิ่นสันติสุช
ประธานกลุ่มบริษัท ราชาอีควิปเมนท์ จำกัด
ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
………………………………………………………………………………………
ที่มา http://www.mmthailand.com/mmnew/energy-modern11-2012.html
alt
อินเดีย... คำที่สะท้อนความหมายในตัวเองจนแทบไม่ต้องมีคำบรรยาย แต่อยากให้คิดบวกกับจินตนาการของท่านว่า ความเป็นอินเดียเพิ่มเสน่ห์ให้กับโลกใบนี้ไม่น้อย นักท่องโลกที่ยังไม่เคยเยี่ยมเยียนอินเดียจะรู้สึกว่าชีวิต...ยังขาดบางสิ่ง บางอย่าง

อินเดีย...ประเทศที่บอกไม่ได้ว่าร่ำรวยหรือยากจน ถนนหนทางในเมืองใหญ่ รถยนต์กับวัวและแพะใช้เส้นทางร่วมกัน ใช้รถอูฐแทนรถม้าขนของ คนขับรถบีบแตรเพื่อแสดงสัญญาณตลอดเวลา อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ และยังมีการแบ่งชนชั้นวรรณะที่ชัดเจน แต่ที่น่าสนใจก็คือประเทศนี้มีคนรวยกว่า 200 ล้านคน ที่พร้อมเป็นลูกค้าของท่าน

อินเดียนับได้ว่า “เป็นขุมทองของเอเชียใต้” คำว่า “เอเชียใต้” อาจไม่คุ้นหูนัก ซึ่งนอกจากอินเดียแล้วเอเชียใต้ยังประกอบด้วยประเทศที่มีศักยภาพอื่นอีก ได้แก่ ปากีสถาน, ศรีลังกา, เนปาล, บังกลาเทศ, ภูฏาน และมัลดีฟส์ รวมกันแล้วมีประชากรกว่า 1,600 ล้านคน เรามาเรียนรู้อินเดียให้มากขึ้นก่อนจะไปหาคำตอบว่าคนกว่า 1,200 ล้านคน เขาบริหารพลังงานกันอย่างไร? พอใช้หรือขาดแคลน?
  
อินเดีย มีพื้นที่ 3.28 ล้านตารางกิโลเมตร ประชากร 17.2% ของประชากรโลก ปี 2554 GDP per capita 3,862 USD (ไทย 5,257.9 USD) อัตราการเจริญเติบโต 8.2% อินเดียใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฮินดีเป็นภาษาราชการ นับถือศาสนาฮินดู 81.3%, มุสลิม 12%, และอื่น ๆ 42%

อินเดียถือเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียใต้ มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำเชิงสัญลักษณ์ บริหารประเทศโดยนายกเทศมนตรี แบ่งการปกครองเป็น 26 รัฐ ใช้สกุลเงินรูปี (1 รูปี ประมาณ 65 สตางค์ของไทย) เงินเฟ้อปี 2554 อยู่ที่ 12% ใครที่คิดจะไปลงทุนต้องประเมินให้ดี เพราะมีคนไทยอยู่อินเดียไม่มากนัก ประมาณ 3,000 คน และในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาประมาณ 2,000 คน

อินเดียมีการลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับไทยหลายฉบับ รัฐบาลอนุญาตให้บริษัทค้าปลีกต่างชาติประเภท Single Brand ถือหุ้นได้ 100% และประมาณ 50% ของเศรษฐกิจต้องพึ่งพาภาคอุตสาหกรรม โดยมีการตั้งเขตอุตสาหกรรมการผลิตและการลงทุนแห่งชาติ 7 รัฐ ทั้งนี้ “รัฐคุชราต” ถือเป็นเขตอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด มีพื้นที่ถึง 900 ตารางกิโลเมตร และรองลงมาคือ “รัฐหรยาณา” มีพื้นที่ประมาณ 380 ตารางกิโลเมตร

ในฉบับนี้ จะขอเจาะลึกถึงพลังงานทดแทนในอินเดีย พร้อมกับความน่าลงทุนของอินเดียในรัฐคุชราต ซึ่งผู้เขียนได้รับความอนุเคราะห์จากสถานฑูตไทยประจำประเทศอินเดียให้เดิน ทางไปสังเกตการณ์ พร้อมด้วยนักธุรกิจไทยกว่า 40 บริษัทที่มุ่งสู่เอเชียใต้และวิเคราะห์ว่า อินเดียคือ “ขุมทอง” โดย “ท่านนเรนดรา โมดี” (Narendra Modi) มุขมนตรีแห่งรัฐคุชราต ได้ให้เกียรติกล่าวต้อนรับคณะของเรา

คุชราต ประตูสู่การลงทุนในประเทศอินเดีย  

เมื่อปลายเดือนกันยายน 2555 ที่ผ่านมา ทางคณะของเราได้เดินทางเข้าพบ “นายพิศาล มาณวพัฒน์” เอกอัครราชฑูต ณ กรุงนิวเดลี ซึ่งท่านถือนักการฑูตแห่งยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นทั้งนักบริหาร นักสื่อสารมวลชน ไม่เพียงแต่เป็นผู้ที่พึงพอใจของคนไทยที่ไปอินเดีย แต่ชาวอินเดียก็รักและเคารพในฐานะที่ท่านมีส่วนร่วมช่วยสร้างความเจริญอีก ด้วย

คุชราต อยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศ มีพื้นที่ 196, 084 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 2 ใน 3 ของประเทศไทย) มีประชากรกว่า 60 ล้านคน มีชายฝั่งทะเลยาวเหยียด 1,600 กิโลเมตร เมืองหลวงของรัฐนี้คือ “คานธีนคร” (เป็นบ้านเกิดของมหาตมะคานธี) เมืองที่ใหญ่สุดและเจริญมากคือ “อาห์เมดาบาด” (Ahmedabad)

คุชราตเป็นรัฐเดียวของอินเดียที่ผลิตไฟฟ้าได้เหลือใช้และจำหน่ายให้รัฐอื่น ในขณะที่รัฐอื่นยังคงต้องใช้ไฟฟ้าแบ่งปันตามช่วงเวลา และในอนาคตคุชราตจะเป็นรัฐที่มีโครงสร้างพื้นฐานเข้มแข็งที่สุด มีรถไฟความเร็วสูง เป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ และศูนย์กลางทางการเงินอีกด้วย
  
พลังงานไฟฟ้าสำหรับคน 1,200 ล้านคน ?

อินเดียมีกำลังการผลิตไฟฟ้าถึง 174,911 เมกะวัตต์ เป็นอันดับที่ 5 ของโลก ถึงแม้ในช่วงที่ผ่านมากำลังการผลิตไฟฟ้าของอินเดียจะมีการเพิ่มขึ้นเท่าตัว ก็ตาม แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วก็ทำให้คนอินเดียส่วนใหญ่ยังต้อง แบ่งปันกระแสไฟฟ้ากันใช้อยู่ดี นับเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลให้กับรัฐบาลเป็นอย่างมาก และส่งผลให้อัตราไฟฟ้าต่อหัวต่ำสุดประเทศหนึ่งในบรรดา Emerging Economies

สัดส่วนการผลิตไฟฟ้า รัฐบาลกลางผลิตได้ 32% รัฐบาลของแต่ละรัฐผลิตได้ 49.8% บริษัทเอกชนผลิตได้ 18.2% โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจอินเดียฉบับที่ 12 ตั้งเป้าการลงทุนผลิตไฟฟ้าไว้ถึง 314,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการเชิญชวนให้ภาคเอกชนมาร่วมผลิตมากขึ้น

จากการคาดการณ์ของ US Energy Information Administration ระบุว่า ความต้องการของอินเดียด้านไฟฟ้าในปี ค.ศ.2035 อาจสูงถึง 4.28 ล้านล้าน kWh ซึ่งจะสูงกว่าจีนและยุโรป ราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยของอินเดียทั่วประเทศไม่ค่อยเท่ากัน และอาจไม่แตกต่างจากไทยมากนัก ใครสนใจลงทุนต้องศึกษาวัฒนธรรมการทำงานของคนอินเดียให้ดี โครงการที่นี่มักใช้เวลาดำเนินการมากกว่าที่กำหนดไว้

อินเดีย หนึ่งในผู้นำพลังงานทดแทนของเอเชีย

ท่านผู้อ่านอย่าแปลกใจว่าทำไมประเทศที่ไฟฟ้าไม่พอใช้อย่างอินเดียจะเป็น หนึ่งในผู้นำด้านพลังงานทดแทน สาเหตุหนึ่งก็คือ เมื่อพลังงานไม่พอก็ต้องเสาะหาทางเลือกใหม่ๆ ค้นคว้า วิจัย และพัฒนา หลายท่านที่ใส่ใจพลังงานคงเคยได้ติดตามข่าวเมื่อปี พ.ศ.2549 ยุคสบู่ดำเฟื่องฟูในประเทศไทย รัฐบาลไทยทุ่มงบประมาณมหาศาลไปดูงานการปลูกสบู่ดำที่ “เจนไน” เมืองตอนใต้ของอินเดีย แต่ท้ายที่สุดไทยก็ไม่เอาจริง แต่อินเดียยังคงเดินหน้าไปไกลแล้ว

กลับมาที่พลังงานไฟฟ้ากัน  อินเดียมีโรงงานผลิตกังหันลมทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่หลายแห่ง รวมถึงโรงงานประกอบแผงโซล่าร์ นอกจากนี้ จีนกับอินเดียยังมีการพัฒนาพลังงานลมและพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกันอีก ด้วย

ไทยนำเข้า Gasification ขนาด 0.5 - 1.5 เมกะวัตต์ จากอินเดีย มีการคาดการณ์ความสามารถการผลิตพลังงานทดแทนในอินเดียไว้หลายสำนัก ซึ่งผู้เขียนขอนำข้อมูลจากหนังสือ Energy [R]evolution ซึ่งทาง Greenpeace ได้จัดพิมพ์ไว้ มาให้ท่านวิเคราะห์ดูว่าอินเดียน่าลงทุนหรือไม่

องค์กรระดับโลกคาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ.2050 อินเดียจะสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนได้ถึง 62% ของไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศ (ปัจจุบัน สเปนผลิตได้สูงสุด 17.2%) พลังงานหลัก ๆ จะได้มาจากแสงอาทิตย์และพลังงานลมประมาณ 45% โดยจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีสูงขึ้น จาก 44 GW ถึง 775 GW ในปี ค.ศ.2050 และจะเพิ่มอย่างจริงจังในอีก 40 ปีข้างหน้า

ในยุคตื่น AEC และ AEC +3 (จีน, เกาหลี และญี่ปุ่น) +6 (อินเดีย, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ถนนทุกสายและงบประมาณมหาศาลทุ่มสู่ AEC แต่ทั้งนี้คงไม่ลืมว่าต้องจับกระแสให้อยู่และเปลี่ยนเป็นโอกาสธุรกิจ ถึงแม้ไทยจะได้เปรียบด้านสภาพภูมิศาสตร์ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกลุ่ม AEC มีประเทศเพื่อนบ้านล้อมรอบ 4 ประเทศ แต่จุดอ่อนของไทยที่ต้องคำนึงก็คือ ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน การเมืองในประเทศ และสิ่งที่ยากพอ ๆ กันก็คือ ระบบการศึกษา ที่ไม่ควรเน้นการท่องจำ

ลองนำแนวคิดคำคมของไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่มาทบทวนดูอีกครั้ง “Imagination is more important than knowledge” แปลง่าย ๆ ก็คือ “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” ถ้าจะสู้กันในเวที AEC ความรู้อย่างเดียวไม่เพียงพอ และผู้ที่น่าจะตอบคำถามได้ดีในเรื่องนี้น่าจะเป็น “ท่านฑูตพิศาล มาณวพัฒน์” เอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงนิวเดลี  อินเดีย...ขุมทองของเอเชียใต้
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น