วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

“ไมโครซอฟท์”พลังอำนาจที่ไม่อาจปฏิเสธได้"

“ไมโครซอฟท์”พลังอำนาจที่ไม่อาจปฏิเสธได้"
บุณฑริกา สิริโภคาศัย
“ไมโครซอฟท์”พลังอำนาจที่ไม่อาจปฏิเสธได้



       ระบบปฏิบัติการ “ไมโครซอฟท์ วินโดวส์” เปิดตัวสู่ตลาดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.1985 (หลังจากเข้าตลาดโอเอสด้วย MS DOS 1.0 ในปี ค.ศ.1981) โดยถือเป็นคู่แข่งทางตรงของ “แมค โอเอส” จาก Apple Inc. ด้วยลักษณะผลิตภัณฑ์และสมรรถนะที่คล้ายคลึงกันมาก   แต่ประเด็นสำคัญที่ทำ ให้โอเอสวินโดวส์ชนะขาดโอเอสของ Apple พร้อมกับก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดทิ้งห่างโอเอสของเจ้าอื่น ครองส่วนแบ่งมากกว่า 90% คือ การเลือกกลุ่มลูกค้าที่กว้างกว่า Apple


      เนื่องจาก Apple ตั้งใจพัฒนาระบบปฏิบัติการของตัวเองขึ้นมา เพื่อเป็นโอเอสที่ใช้งานกับฮาร์ดแวร์ อย่างคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องโน้ตบุ๊คของ Apple โดยเฉพาะ (Niche Market) แต่โมเดลการทำตลาดของไมโครซอฟท์ที่เน้น Bundle ซอฟต์แวร์ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ณ จังหวะที่ช่วงนั้นตลาดพีซีกำลังขยายตัวอย่างมาก จนถึงขั้นที่นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า ยุคที่ไมโครซอฟท์ Enter สู่ตลาดนั้น “พีซีถือเป็นศูนย์กลางของจักรวาล” ทำให้การเข้าตลาดตั้งแต่ในระยะแรกๆ ของไมโครซอฟท์จึงสร้างการเติบโตได้อย่างมหาศาล 


      นั่นเพราะตามธรรมชาติของเทคโนโลยี คือ เมื่อใดก็ตามที่เทคโนโลยีใหม่สามารถเปิดตัวสู่การยอมรับของตลาดในวงกว้าง และมีพลวัตของการเติบโตอย่างรวดเร็ว (Dynamic Growth Mode) ในรายของไมโครซอฟท์ถือว่าได้ใช้โอกาสในการเข้าสู่ตลาดเป็นรายแรกๆ ชิงความได้เปรียบทางการแข่งขันมาต่อยอดความสำเร็จให้กับธุรกิจ พร้อมกำหนดกลยุทธ์ที่คู่แข่งรายอื่น ยากจะทลายกำแพงมาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดของซอฟต์แวร์ไจแอนท์รายนี้ได้ในบางตลาดถึงกับมีการฟ้องร้องไมโครซอฟท์ด้วยข้อหา “ผูกขาดทางการค้า” อย่างเช่น การที่สหภาพยุโรปฟ้องร้องกรณีการพ่วงซอฟต์แวร์เบ็ดเตล็ด อย่าง Internet Explorer, Windows Media Player ฯลฯ เข้าไว้ใน Windows OS ของไมโครซอฟท์ ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวได้ทำลายการแข่งขันในตลาดบราวเซอร์ โดยคดีความยืดเยื้อมานานนับสิบปี 


      ที่สำคัญ ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์กลายเป็น Standard ที่ผู้ใช้ทั่วโลกต้องการ รวมถึงประเทศไทยก็เช่นกัน ที่ธุรกิจมีอัตราการเติบโตรวดเร็วเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศในกลุ่ม Emerging Market และหากพิจารณาถึงสถานะของไมโครซอฟท์ในไทย เรียกว่าแทบไม่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ที่ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดคิดเป็น 90% ในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป และ 87% ในกลุ่มองค์กร
      ด้วยฐานะ Market Leader ผนวกกับข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน จึงส่งผลอย่างมากต่อแนวทางการวางกลยุทธ์ของไมโครซอฟท์ทั่วโลก โดยเฉพาะมุมมองในการสร้าง Customer Value ที่ทำให้ไมโครซอฟท์มี Speed และการอัพเดทเวอร์ชั่นโอเอสแต่ละครั้ง ได้รับความสนใจจากผู้ใช้มาโดยตลอด  เรียกว่า ยิ่งอัพเกรด ก็ยิ่งยากที่คู่แข่งจะเข้ามาชิงพื้นที่ส่วนแบ่งตลาดของไมโครซอฟท์
      ใน กรณีของ Windows 7 ยังถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของ “การใกล้ชิดคอนซูเมอร์มากขึ้น” ที่จะมาสร้างการเติบโตอย่างมหาศาลให้กับไมโครซอฟท์ในตลาดผู้บริโภค เนื่องจาก Windows 7 กลายเป็นโอเอสที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของไมโครซอฟท์ มีการขายไลเซ่นไปทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 150 ล้านไลเซ่น ภายในระยะเวลาเพียง 7 เดือนหลังจากเปิดตัว ซึ่งในไทยขายไปมากกว่า 3 แสน License และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเพราะอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี ที่สำคัญ คุณสมบัติหลักเรื่อง “ความง่ายต่อการใช้และเร็ว” ของ Windows 7 ยังถือเป็นแรงส่งสำคัญของไมโครซอฟต์ หลังจากที่ระบบปฏิบัติการ Windows Vista ซึ่งเปิดตัวไปก่อนหน้านี้ ไม่ประสบความสำเร็จดังที่หวังไว้

      “ตลาด องค์กรเป็นจุดแข็งของไมโครซอฟต์ ประเทศไทย โดยในปัจจุบัน ตลาดคอนซูเมอร์มีสัดส่วนอยู่ที่ 10% ของรายได้ แต่หลายอย่างเพิ่งเป็นจุดเริ่มต้น แต่แนวทางสำคัญ คือ การใกล้ชิดผู้บริโภคให้มากขึ้น” ผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย เคยกล่าวกับสื่อมวลชนเมื่อไม่นานมานี้

      โดย Windows 7 ที่เปิดตัวในไทย ยังมาพร้อมเวอร์ชั่นภาคภาษาไทย นับเป็นสปีดที่ปรับได้รวดเร็วขึ้นจาก Insight ของตลาด ตามแนวทางการพัฒนา Feature ให้ Localize สำหรับผู้ใช้ในไทย รวมทั้งไมโครซอฟท์ยังสามารถเลือกปรับระดับราคาให้ต่ำลงได้ เพราะหนึ่ง ในความท้าทายของการทำธุรกิจใน Emerging Market อย่างประเทศไทย คือ ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งในปัจจุบันอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ในไทยคิดเป็นตัวเลข 76% 

      ผู้บริหารไมโครซอฟท์ระดับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เคยให้ความเห็นว่า “เหตุผลหลักที่ผู้คนใช้โปรแกรมผิดกฎหมาย ก็เพราะการจ่ายค่าลิขสิทธิ์แบบซื้อขาดหรือไม่มีวันหมดอายุนั้น (Perpetual License) ในราคาที่สูง ในทางกลับกัน สมมติเราบอกว่า จะเรียกเก็บค่าใช้งาน email เดือนละ 2 เหรียญต่อผู้ใช้งาน 1 คน นั่นเป็นสิ่งที่พวกเขารับได้ง่ายกว่าการจ่ายค่าลิขสิทธิ์แบบซื้อขาด”
เมื่อ Market Leader มองเห็นอุปสรรคที่ขัดขวางการเติบโต ข้อได้เปรียบประการหนึ่งที่พวกเขาเลือกลงมือทำได้ นั่นคือ การปรับ Business Model ให้เหมาะสมกับตลาด ในเคสของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย พวกเราเลือกวางระดับราคาของผลิตภัณฑ์ให้ต่ำลง เน้นการขายรูปแบบแพ็กเกจ รวมทั้งมีการจัดแคมเปญการสื่อสารเพื่อให้ความรู้ในหมู่ผู้บริโภคอีกด้วย


      โดย ระดับราคาปกติสำหรับซอฟต์แวร์ลิขสิทธ์ของไมโครซอฟท์ ประเทศไทยจะอยู่ที่ราว 8,000 บาท แต่ระยะหลังๆ เริ่มมีการปรับระดับราคาลดลงอยู่ที่ 4,000 – 5,000 บาท นอกจากนั้น ยังมีการสร้างความคุ้มค่าให้กับโปรดักต์ เช่น การเปิดตัวซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่พ่วงแอนตี้ไวรัสฟรี เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องการจูงใจผู้บริโภคให้หันมาใช้ซอฟต์แวร์แบบถูกลิขสิทธิ์
ความ ยืดหยุ่นในการปรับราคาให้เหมาะสม ทำให้เชื่อได้ว่าธุรกิจของไมโครซอฟท์จะยังคงทำกำไร เพราะข้อได้เปรียบของการเป็น Market Leader ตรงกับคำกล่าวของ Bill Gates ผู้ที่นำพาไมโครซอฟท์สู่ความสำเร็จเคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าคุณครอบครองตลาดไว้ได้ นั่นหมายถึง ในที่สุดแล้ว คุณก็ครอบครองผลกำไรเอาไว้เช่นกัน” 


      ทั้งนี้ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทยยังเลือกใช้โมเดลในการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในภาคธุรกิจ Internet Café ที่มีชื่อโปรเจ็กต์ว่า “iCafe” เพื่อขายสินค้าลิขสิทธิ์ในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดถึง 80% ให้กับ Internet Café ที่เข้าร่วมโครงการกว่า 8,000 แห่งจากทั้งหมด 15,000 แห่งทั่วประเทศ แม้ว่า iCafe อาจมิใช่โมเดลที่สร้างรายได้ให้กับไมโครซอฟท์มากนัก แต่เป็นการเน้นให้ผู้คนเข้าถึงเทคโนโลยีและสร้างประสบการณ์ใช้งานสินค้าถูก ลิขสิทธิ์มากกว่า

      ในแง่ของคู่ค้าทั่วประเทศ ยังมีการลงทุนเปิดสาขา Microsoft Experience Center ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเข้าถึงและความเข้าใจในการใช้งานมากขึ้น นอกจากนั้น ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ยังสร้างพันธมิตรอย่างองค์กรในภาคการศึกษา โดยจับมือกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเปิดศูนย์คอมพิวเตอร์กว่า 2,000 แห่ง ผลักดันให้โรงเรียนอีก 3,000 แห่งในไทยหันมาใช้งาน Microsoft Multipoint ซึ่งเป็นตัวอย่างของการคิดโซลูชั่นมารองรับสภาพการใช้งานได้อย่างเหมาะสม

      อย่าง ไรก็ตาม ธุรกิจส่วนใหญ่ของไมโครซอฟท์นั้น ล้วนเกี่ยวเนื่องกับการขายซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์อย่างระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และซอฟต์แวร์สำหรับสำนักงาน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาสขึ้นลงตามความผันผวนของตลาดคอมพิวเตอร์ส่วน บุคคล ขณะที่ข้อมูลจากบริษัทวิจัย การ์ทเนอร์ ระบุว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์กว่า 90% ทั่วโลก ยังคงทำงานด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แต่จากข้อมูลล่าสุดพบว่า มีสมาร์ทโฟนไม่ถึง 3% เท่านั้นที่ใช้ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์

      นอกเหนือจาก ความท้าทายของการเผชิญหน้ากับซอฟท์แวร์ผิดกฎหมายในตลาดเติบโตเร็วในภูมิภาค เอเชีย แปซิฟิกแล้ว อีกหนึ่งความท้าทาย คือ การที่ Market Leader รายนี้จะต้องนำพละกำลังและข้อได้เปรียบทั้งหลายมาสร้างความสำเร็จอีกครั้ง ในยุคที่บริบทการสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงด้วยสิ่งที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต

      แน่นอนว่า ผู้นำตลาดอย่างไมโครซอฟท์ย่อมตระเตรียมสรรพกำลังไว้เพื่อสู้ศึกในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์การก้าวสู่โลกของ Cloud Computing อันเป็นแพลตฟอร์มที่จะตอบโจทย์ของผู้บริโภคและองค์กรในอนาคต หรือการต่อยอดหาช่องทางใหม่ๆ เพื่อสร้างรายได้จากการเติบโตอย่างพุ่งพรวดของตลาด Mobile Internet  เพราะชัยชนะที่แท้จริงของผู้นำ อยู่ที่การเอาชนะการแข่งขันแบบวิ่งผลัด มากกว่าที่จะชนะจากศึกสงครามเพียงแค่หนเดียว...

ได้เปรียบอย่างไร
1. Create Standard Platform
2. Adaptable Business Model
3. Speed to Market
4. Customer Intimacy (คนคุ้นเคยกับการใช้วินโดวส์มากกว่าระบบอื่น)


ref:http://www.brandage.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น