วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อวสานปั๊มไร้โรงกลั่นรูดม่าน!คิวเอท-บีพี-เจ็ท..ปิโตรนาส

อวสานปั๊มไร้โรงกลั่นรูดม่าน!คิวเอท-บีพี-เจ็ท..ปิโตรนาส
 
   + อันดับข่าวอ่านมากที่สุดนี้
พลิกร.ฟ.ท.6เดือนเห็นผล‘ประภัสร์’สั่งรื้อ/เลิกเล่นการเมื...
โห!คนไทยกินคะน้าต้นละ25บ.พิษอีสานแล้ง-พ่อค้าตุนดันราคาผ...
หมอเตือนคนไทยติดหล่มวัตถุนิยมระวัง‘หนี้ท่วมหัว’...
ค่ายจีนป่วนตลาด‘บิ๊กไบค์’เจ้าเก่าระส่ำ!ขายแค่8หมื่น...
ประชามติเหงื่อตกแก้ รธน.สุ่มเสี่ยง...
เมืองพัทยาเตรียมจัด 2 ศึกหใญ่ “เจ็ตสกี-เทนนิสพีทีที พั...
สมาคมฟุตบอลให้ "วินนี่" ทำงานจดหมดสัญญา...

และแล้วก็ถึงบทอวสานของปั๊มน้ำมันแบรนด์ดัง “ปิโตรนาส” จากมาเลเซียประกาศยกธงขาวถอน ตัวการลงทุนจากประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยมีปั๊มน้ำมันพันธุ์ไทย แท้ “ซัสโก้” สนใจซื้อกิจการไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจค้าปลีกน้ำมันของไทยครั้งนี้เสมือนเป็นการส่ง สัญญาณถึงธุรกิจปั๊มน้ำมันได้เวลาอัสดง เพราะหากย้อนเวลากลับไปดู เมื่อครั้ง “ปิโตรนาส” ได้เทกโอเวอร์ปั๊ม “คิวเอท” ช่วงปี 2547 หลังจากไม่นานก็ถึงจบของปั๊ม “เจ็ท” และ “บีพี” ต้องพับเสื่อกลับบ้าน

ย้อนเวลากลับไปเมื่อหลายปีก่อนมีธุรกิจค้าปลีกน้ำมันที่เป็นของต่างชาติ “ถอนการลงทุน” จากประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าสมรภูมิมีการแข่งขันกันดุเดือด โดยเมื่อปี 2548 “ปั๊มคิวเอท” ของคูเวต ปิโตรเลียมฯ ได้โบกมือลาประเทศไทย โดยขายธุรกิจให้ปิโตรนาส รีเทล (ประเทศไทย) ที่สนใจเข้ามาทำธุรกิจค้าปลีกน้ำมันในประเทศไทยด้วยวงเงินประมาณ 2,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ “ปั๊มปิโตรมาส” เข้ามาบุกตลาดในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และได้เปลี่ยนชื่อปั๊มจาก “Q8” เป็น “ปิโตรนาส” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

แต่เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก จากวันนั้นถึงวันนี้ผ่านไป 7 ปี ธุรกิจค้าปลีกน้ำมันในไทยเหมือนมีอาถรรพ์ “ปิโตรนาส” ต้องพับเสื่อกลับบ้าน เมื่อธุรกิจน้ำมันพันธุ์ไทยแท้ “ซัสโก้” สวมบทแจ๊กผู้ฆ่ายักษ์ทุ่มเงินซื้อกิจการไป

เหตุการณ์ครั้งนั้นเสมือนโดมิโน ต่อมาปี 2550 ก็ถึงคิว “ปั๊มบีพี” ของบีพีออยล์ (ประเทศไทย) ได้ขายกิจการให้ บริษัท น้ำมันคาลเท็กซ์ (ไทย) จากสหรัฐอเมริกาฯ ด้วยมูลค่าประมาณ 1 พันล้านบาท ซึ่งการซื้อปั๊มบีพีของคาลเท็กซ์ครั้งนั้น ทำให้ได้จำนวนปั๊มน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 48 แห่ง รวมเป็น 611 แห่งทั่วประเทศ

วันนี้คาลเท็กซ์มีปั๊มน้ำมันกว่า 400 แห่ง และคาดว่าวภายในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีสาขารวมไม่ต่ำกว่า 500 แห่ง และเพื่อความอยู่รอดได้ปรับกลยุทธ์การตลาดด้วยการเข้าไปบุกธุรกิจค้าอย่าง เป็นทางการ โดยหันไปจับมือกับ “เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล” เปิดร้านท็อปส์ เดลี่ ในสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ สาขางามวงศ์วาน นับเป็นก้าวสำคัญของธุรกิจค้าปลีกน้ำมันที่ได้เจาะตลาดค้าปลีกอย่างเต็มตัว เพื่อหารายได้เข้ามาทดแทนรผลประกอบการจากการขายน้ำมันที่นับวันจะลดน้อยถอย ลงทุกที

ในปี 2550 ปีเดียวกันนั่นเอง “ปั๊มเจ็ท” ก็ถูก ปตท. เทกโอเวอร์กิจการไปด้วยวงเงินประมาณ 9,600 ล้านบาท โดยได้ปั๊มน้ำมันมา 146 แห่ง พร้อมร้านสะดวกซื้อภาพลักษณ์ดีอย่าง “จิฟฟี่” มาอยู่ในกำมือ ขณะนี้ปตท. มีปั๊มน้ำมันทั้งสิ้น 1,300 แห่งทั่วประเทศ

ล่าสุด ได้เปิดมิติใหม่ลงทุนธุรกิจคอมมูนิตี้ ภายใต้แบรนด์ The Crystal PTT อยู่ในปั๊ม ปตท. เลียบถนนชัยพฤกษ์ บนพื้นที่ 12 ไร่ มูลค่า 600 ล้านบาท และกำลังจะเปิดลำดับต่อไปโครงการช็อปปิ้งมอลล์ ย่านถนนราชพฤกษ์นครอินทร์ บนพื้นที่ 22 ไร่

การล้มหายตายจากของปั๊มน้ำมันแบรนด์นอก เนื่องจากสถานการณ์ธุรกิจค้าปลีกน้ำมันในประเทศไทยเต็มไปด้วยการแข่งขันที่ รุนแรง ที่สำคัญการแข่งขันไม่ได้เสรีอย่างแท้จริง เพราะว่าราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปถูกควบคุมด้วยรัฐบาล ทำให้ผู้ค้าน้ำมันต่างชาติไม่สามารถทนแบกรับราคาต่ำได้ ซึ่งที่ผ่านมามีการขยับขึ้นราคาขายปลีกก่อนบริษัทน้ำมันของรัฐอย่างเช่น ปตท. และบางจาก ส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาดน้ำมันต่างชาติลดลงต่อเนื่อง ในที่สุดต้องแบกรับภาระขาดทุน และถอนตัวทิ้งการลงทุนในประเทศไทย

แม้แต่นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ก็ยังยอมรับตรงๆ ว่า นโยบายตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ซึ่ง ปตท.เห็นว่าควรปล่อยให้สะท้อนตามกลไกตลาด และค่าการตลาดน้ำมันก็ไม่ควรกำหนดตายตัวที่ 1-1.50 บาทต่อลิตร ทำให้ผู้ค้าน้ำมันของต่างประเทศหลายรายถอนการลงทุนในไทย เช่น เจ็ท คิวเอท เป็นต้น

ขณะที่นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน และอุตสาหกรรมน้ำมันเปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า ปิโตรนาสไม่ใช่รายสุดท้ายที่ถอนการลงทุนจากประเทศไทย เพราะว่าราคาขายปลีกน้ำมันในไทยถูกแทรกแซงโดยรัฐบาล ถ้าหากผู้ค้าน้ำมันไม่มีโรงกลั่น และค่าการตลาดถูกกำหนดอยู่ที่ 1.30 บาทต่อลิตร ซึ่งในความเป็นจริงควรอยู่ที่ 1.50 บาทต่อลิตร จะทำให้ผู้ค้าปลีกน้ำมันอยู่ลำบาก

“ผู้ค้าปลีกน้ำมันต่างชาติมีสายป่านยาว แต่การทำธุรกิจประสบภาวะขาดทุนก็ต้องถอนตัว สาเหตุมาจากกลไกตลาดไม่ได้แข่งขันอย่างเสรี ผมมองว่าปิโตรนาสไม่ใช่รายสุดท้าย ถ้ามีรายอื่นสนใจเข้ามาลงทุนในไทย ปั๊มที่เปิดจำหน่ายน้ำมันอยู่ในตอนนี้ขายได้ราคาดีก็มีโอกาสสูงที่จะขาย กิจการ”

ด้านนายชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ซัสโก้ จำกัด(มหาชน) ผู้จำหน่ายน้ำมันยี่ห้อ SUSCO กล่าวว่า ซัสโก้จะปรับเปลี่ยนแบรนด์ปิโตรนาสเป็นซัสโก้ช่วงต้นปี 2556 ซึ่งจะส่งผลให้ปั๊มน้ำมันของซัสโก้เพิ่มเป็น 244 แห่งทั่วประเทศ แต่ระหว่างนี้ซัสโก้จะปรับปรุงโฉมปั๊มน้ำมันของเดิมให้มีรูปลักษณ์ที่ทัน สมัยมากขึ้น โดยจะทยอยปรับโฉม 20-30 แห่ง คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 40-50 ล้านบาทต่อปี

ต้องจับตาอย่ากะพริบช่วงหัวเรี่ยวหัวต่อธุรกิจค้าปลีกน้ำมันของ “ซัสโก้” โดยเฉพาะการบริหารร้านสะดวกซื้อ “ซูเรีย” ในปั๊มปิโตรนาส ซึ่งเสมือนกุญแจเปิดไปสู่ผลกำไรจะเปิดให้ผู้ที่สนใจทำธุรกิจ “มินิมาร์ท” ยื่นข้อเสนอต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น