วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

3 ปี วิบากกรรมทีวีดิจิทัล

3 ปี วิบากกรรมทีวีดิจิทัล

3 ปี วิบากกรรมทีวีดิจิทัล


ที่มา nationtv
อุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล ผลประกอบการ 3 ปี นอกจากรายได้รวมไม่เพิ่ม แต่แนวโน้มขาดทุนเพิ่ม ลองเอาตารางรายได้ และผลกำไร-ขาดทุนของ 22 ช่อง มารวม 3 ปีนับจากเริ่มดำเนินการทีวีดิจิทัล ในเดือนเมษายนปี 2557-2559 มีประเด็นหลักๆ เป็นข้อสังเกตุ เพื่อประกอบการมองอนาคตแนวทางแก้ไข
1.กลุ่มช่องข่าว : รายได้รวม 3 ปีไม่เพิ่ม นิ่งสนิท
-แนวโน้มรายได้รวม 6 ช่องไม่เพิ่มขึ้นเลย ปี 2557 1,409 ล้านบาท, ปี 2558 1,488 ล้านบาท และปี 2559 1,408 ล้านบาท รวม 3 ปี 4,305 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วช่องข่าวมีรายได้ต่อข่องประมาณ 300 ล้านบาทต่อช่องต่อปี
-ผลขาดทุนรวมยังเกินกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี รวม 3 ปี 3,896 ล้านบาท เท่ากับว่าช่องข่าวจะต้องเพิ่มรายได้อย่างน้อย 45-50 %แล้วตรึงต้นทุนไว้เท่าเดิม จึงจะทำให้ผลประกอบการเป็นบวก อย่างน้อยจะต้องเบ่งรายได้ขึ้นไปถึงเฉลี่ยช่องละ 455-460 ล้านบาทต่อปี
2.กลุ่มช่องวาไรตี้(SD): โตเดี่ยวช่องworkpoint
-เนื่องจากตัวเลขที่แจ้งกระทรวงพาณิชย์ของกลุ่มช่อง 3 ไม่ได้แยกรายช่อง จึงขอนำตัวเลขช่อง 3 ทั้งสามช่องให้ไปอยู่ในกลุ่มวาไรตี้ HD จึงเหลือข้อมูล 6 ช่องมาวิเคราะห์
-รายได้ของกลุ่มช่องวาไรตี้ SD 6 ช่องมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบทุกช่อง ยกเว้นช่อง NOW26 ที่มีรายได้ลดลงในปี 2559 ร่วม 40% ทำให้ยอดรายได้รวม เพิ่มจากปี 2557 1,611 ล้านบาทเป็น 4,664 ล้านบาทในปี 2558 และเพิ่มขึ้นเป็น 6,103 ล้านบาทในปี 2559 รายได้เฉลี่ยของช่องวาไรตี้ 690 ล้านลาทต่อปี
-ช่องวาไรตี้ 6 ช่องมีเพียงช่อง Workpoint ที่มีกำไรปีแรกในปี 2559 นอกนั้นทั้ง 5 ช่องมีผลขาดทุนในช่วง 3 ปีรวมกันมากกว่า 4,800 ล้านบาท เฉลี่ยขาดทุนรวม 3 ปีของแต่ละช่องประมาณ 800 ล้านบาท ยกเว้นช่อง Workpoint ได้ถึงจุดสามารถทำกำไรได้แล้ว
-ช่องวาไรตี้ SD จะต้องเพิ่มรายได้อีกเฉลี่ยช่องละประมาณ 260-270 ล้านบาท เฉลี่ยประมาณ 35-40% จึงจะทำให้สามารถมีกำไรได้ แต่ตัวเลขต้นทุนของช่องวาไรตี้ SD แต่ละช่องต่างกันมากตามเนื้อหาที่ผลิต แตกต่างจากช่องข่าวที่มีต้นทุนผลิตไม่ต่างกันมากนัก ช่องวาไรตี้ SD เฉลี่ยแล้วควรจะต้องมีรายได้ไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท จึงจะถือได้ว่าผลประกอบการเริ่มเป็นบวก
3.กลุ่มช่องวาไรตี้ HD : รายได้รวม3ปีถดถอยลงทุกปี
-เนื่องจากตัวเลขรายได้และกำไรขาดทุนของ MCOT เป็นผลประกอบการรวมทุกธุรกิจของอสมท.คือทีวี,วิทยุ,โครงข่าย,นิวมีเดียว จึงขอให้ตัวเลขรวมในการวิเคราะห์รวมในกลุ่มช่องวาไรตี้ HD
-นอกจากนี้เข้าใจว่ารายได้ของช่อง 3 Original หรืออะนาล็อกไม่ได้นำมาแสดงในตาราง แต่ตัวเลขช่อง 3 ที่นำมาแสดงเป็นรายได้รวมของ 3 ช่องทีวีดิจิทัล อาจจะทำให้ตัวเลขคลาดเคลื่อนได้บ้าง
-ช่องวาไรตี้ HD มีเพียงช่องเดียวที่มีผลประกอบการเป็นบวกทั้ง 3 ปี แต่รายได้รวมกลับลดลงอย่างมากนับจากปี 2557 มีรายได้ 10,428 ล้านบาท ลดลร่วม 30% เหลือ 7,189 ล้านบาทในปี 2558 และยังลดลงอีกในปี 2559 เหลือ 5,825 ล้านบาท ในขณะที่กำไรก็ลดลงจาก 5,510 ล้านบาทเหลือแค่ 1,567 ล้านบาทในปี 2559
-รายได้รวม 3 ปีของช่องวาไรตี้ HD มีแนวโน้มลดลงตามลำดับจาก 15,919 ล้านบาทในปี 2557 ลดลงมาเหลือ 14,842 ล้านบาทในปี2558 แล้วยังลดต่อเนื่องเหลือ 12,539 ล้านบาทในปี 2559 รายได้รวมของช่องวาไรตี้HD สูงกว่าช่องวาไรตี้ SD ประมาณ 1 เท่าตัว แต่จากแนวโน้มรายได้รวมลดลง ทำให้มีข้อสังเกตุว่าคุณภาพความคมชัดมากกว่าไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่าคนดูจะนิยมมากกว่า
-ผลขาดทุนสะสมของช่องวาไรตี้ HD ทั้ง 5 ช่อง ยกเว้นช่อง 7 HD และข่อง 3 HD อยู่ในอาการน่าเป็นห่วงมาก เกือบทุกรายมีขาดทุนสะสมอยู่ในระดับ 1,800 -2,000 ล้านบาทขึ้นไป ยกเว้นช่อง 9 ที่เพิ่งเริ่มขาดทุนในปีที่แล้ว แต่ภาวะรายได้โฆษณาจากธุรกิจโทรทัศน์ของอสมท.ลดลงฮวบฮาบมาก..
SET ZEROทีวีดิจิทัล
คอลัมน์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อชักชวนทุกคนมาระดมความคิด เพื่อหาทางออก ผ่าทางตันอุตสาหกรรมโทรทัศน์ของไทย ที่ถูก Disruption จากสื่อใหม่อย่างรุนแรงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มองอดีตเป็นบทเรียน โดยไม่ต้องค้นหาว่าใครผิด เพื่อร่วมกันวางเส้นทางใหม่ของอุตสาหกรรมนี้ที่ยังมีความสำคัญต่อประเทศไทย 4.0
อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้เขียนคอลัมน์คิดใหม่วันอาทิตย์ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ แล้วคัดมารวมอยู่ในหนังสือ 2 เล่ม เล่มแรก: ภูมิทัศน์สื่อใหม่ Digital Media ทีวีพันช่อง
เล่มที่สอง : มหากาพย์ทีวีดิจิทัล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น